We have the pleasure of introducing SWIFT LOGISTICS CO., LTD. as a member of TGL GROUP We are Thailand specialized company in the field of International Inland Transport Logistics Services, specializing In handling Cross Border Trucking & Domestic Transport Services along with Ex/Im Customs Clearance.  Since 2009 our established company, we have been continuously providing customers & agent partnership with a full range of excellent marine & land transportation services with a very high performance & very competitive rates, which have won praise and support from domestic industrial and commercial enterprises, In addition to all of our overseas partners.

Our principle is to provide the best and reliable service to all the customers worldwide which is supported by well experienced & technically qualified personals, a team distinguished by its efficiency and drive, fully conversant with intricate operational techniques, providing customer service and ensuring the efficient handling of cargo from point manufacturing to final destinations (Door To Door Services).

You can entrust Swift Logistics with your valuable cargo. Quality and security are of utmost importance for Swift Logistics Land Transport. An integrated quality and security management ensures the smooth forwarding of your cargo. A full range of trucking and inter modal services provided by the group companies through selected and qualified sub-contractors. Our client can rely on our efficient transportation services and remain assured of on time and safe delivery of their consignments, after clearance of the import goods through customs. We also deliver the goods to project sites /Factory of importers etc. through employing surface transport. Our transport arrangements cover all parts of Thailand. We also have the facility to transport the basic normal cargo.

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายพระราชบัญญัติศุลกากรศุลกากร พ.ศ.2560

หลักเกณฑ์การได้อนุญาตเป็นตัวแทนออกของ (นิติบุคคล)

"ตัวแทนออกของ" หรือ "ชิปปิ้ง" คือผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าส่งออกให้กับเจ้าของสินค้า และให้บริการต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น จองระวางเรือ/เครื่องบิน จัดหารถบรรทุก เป็นต้น ซึ่งนับว่ามีส่วนสำคัญในการดำเนินการให้ระบบการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความราบรื่น กรมศุลกากรได้มีการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของ เพื่อยกระดับและส่งเสริม ให้ระบบตัวแทนออกของเป็นที่ยอมรับและเป็นไปตามมาตรฐานโลก อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กรมศุลกากรจึงได้ออกประกาศกรมศุลกากร ที่ 13/2549 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของ โดยได้มีการกำหนดคุณสมบัติของตัวแทนออกของ หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวแทนออกของ และมีการควบคุมมาตรฐานของตัวแทนออกของ โดยตัวแทนออกของจะต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวกับการออกของ และกำหนดให้สมาคมที่เกี่ยวกับการออกของมีหน้าที่รับรองสมาชิกที่เป็นนิติบุคคล กำหนดจรรยาบรรณตัวแทนออกของ จัดให้มีการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของตามที่กรมศุลกากรรับรอง เผยแพร่นโยบาย ระเบียบ และประกาศ ของกรมศุลกากร ส่งเสริมความรู้ทางด้านศุลกากร ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานศุลกากรแก่สมาชิก กำกับดูแลความประพฤติ ของสมาชิก ตักเตือนสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ รวมทั้งต้องแจ้งการเปลี่ยนรายชื่อสมาชิกแก่กรมศุลกากรทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์การได้รับอนุญาตเป็นตัวแทนออกของจากกรมศุลกากร ตัวแทนออกของจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรที่ 13 /2549 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ดังนี้
  • 1.) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
  • 2.) เป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวกับการออกของที่กรมศุลกากรรับรอง
  • 3.) ต้องมีพนักงานหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของที่ผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของจากสถาบันวิทยาการศุลกากร จาก สมาคมหรือสถาบันที่กรมศุลกากรรับรองและ ผ่านการทดสอบข้อสอบมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด หรือ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ชำนาญการศุลกากรของกรมศุลกากรและ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของตัวแทนออกของ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้เป็นตัวแทนออกของ ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2549
  • 4.) ไม่เคยมีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรอย่างร้ายแรง หรือถูกกรมศุลกากรเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนออกของ
  • 5.) ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนออกของจากกรมศุลกากรโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด
  • 6.) การดำเนินงานของตัวแทนออกของให้ถือเป็นการปฎิบัติงานของตัวแทนภายใต้มาตรา 106 ถึงมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร ปี พ.ศ. 2469 และ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร ปี พ.ศ.2560 มาตรา 99 ถึงมาตรา 101 ตัวแทนออกของต้องปฎิบัติตามข้อกฎหมายศุลกากร กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกาศและระเบียบที่กรมศุลกากรกำหนด
  • 7.) ตัวแทนออกของต้องปฎิบัติตามจรรยาบรรณตัวแทนออกของตามที่สมาคมที่เกี่ยงกับการออกของ ที่กรมศุลกากรรับรอง
พ.ร.บ. ศุลกากรฉบับ พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ใน พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มีไว้ดังนี้
  • การประเมิน เดิมกรมศุลกากรไม่มีการกำหนดระยะเวลา โดยให้ทำการประเมินภายในอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำเข้าสินค้าหรือวันที่ส่งออกสินค้า ดังนั้นใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 จึงได้มีการระบุชัดเจนว่า จะต้องดำเนินการประเมินภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งข้อดีคือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ดำเนินการได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  • การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย เจ้าหน้าที่สามารถทำการตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เก็บเอกสาร 5 ปี
  • โทษและการกระทำความผิด เดิมกฎหมายจะลงโทษเท่ากันแม้จะเป็นโทษหนักหรือเบาก็ตาม โดยจะลงโทษด้วยการปรับ 4 เท่า ของราคาสินค้ารวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งปัจจุบันได้มีการแก้ไขเป็นปรับตั้งแต่ 0.5 เท่าแต่ไม่เกิน 4 เท่าของอากรที่ขาดโดยไม่คำนวณรวมราคาสินค้า และการลงโทษหนักหรือเบานั้นให้เป็นไปตามดุลพินิจของศาล
  • ชนิดคลังสินค้าทัณฑ์บน ได้ระบุใน พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ให้อธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้กำหนดโดยการประกาศเป็นกฎกระทรวง ซึ่งทำให้เกิดความยืดหยุ่นของชนิดคลังที่สามารถเพิ่มได้ตามความเหมาะสม
  • สินบนรางวัล เดิมประกอบไปด้วย สินบน และ เงินรางวัล โดยสินบนจ่าย 30 เปอร์เซ็นต์ของค่าขายของกลางหรือค่าปรับ ซึ่งจ่ายทุกฐานความผิดและไม่มีเพดาน ส่วนเงินรางวัลจ่าย 25 เปอร์เซ็นต์ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับกุม แต่กรณีไม่มีสินบนจะจ่าย 30 เปอร์เซ็นต์แก่เจ้าหน้าที่ที่จับกุมไม่มีเพดานและจ่ายทุกฐานความผิด โดยปัจจุบันกำหนดให้จ่ายสินบน 20 เปอร์เซ็นต์ และเงินรางวัล 20 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท จ่ายในฐานความผิดเฉพาะเท่านั้น
  • ภาระการพิสูจน์ เดิมอยู่ที่จำเลยที่ต้องเป็นบุคคลพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งปัจจุบันตัดมาตรา 100 ออก ทำให้ภาระการพิสูจน์จะเป็นของบุคคลใดขึ้นอยู่กับหลักกฎหมายทั่วไป
  • ตัวแทนออกของ ปัจจุบันได้กำหนดให้มีคุณสมบัติเหมาะสมมากขึ้น และมีการกำหนดโทษตัวแทนออกของหากมีการกระทำความผิด
  • การสงวนสิทธิ์เมื่อมีการชำระอากรไว้เกิน เดิมผู้ประกอบการชำระอากรไว้เกินต้องขอสงวนสิทธิ์กับทางกรมศุลกากรเพื่อขอคืนเงิน ซึ่งปัจจุบันไม่จำเป็นต้องสงวนสิทธิ์เพราะหากมีการชำระเกินก็สมควรที่จะได้รับอากรคืน
  • ระบบการขอคำวินิจฉัยล่วงหน้าจากศุลกากร ปัจจุบันผู้ประกอบการจะต้องขอคำวินิจฉัยล่วงหน้า ซึ่งจะใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร และมีผล 2 ปี นับจากการให้คำวินิจฉัย ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับทราบอัตราภาษีได้อย่างถูกต้องล่วงหน้า
  • คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่เดิมเอกชนไม่สามารถฟ้องศาลได้ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ศาลจะไม่รับฟ้องโดยระบุว่าผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายภายในก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิ์ทางศาลได้ ซึ่งปัจจุบันกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นผู้ตัดสินประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเสียภาษีในกรณีที่ความเห็นระหว่างศุลกากรกับผู้ประกอบการไม่ตรงกัน โดยจะมีกี่คณะก็ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เพื่อการกระจายการทำงานไม่ให้งานคั่งค้างสะสม และกำหนดเวลาแล้วเสร็จชัดเจนในระยะเวลา 180 วัน ขยายได้อีก 90 วัน และหากเอกชนไม่เห็นด้วยในระยะเวลา 180 วันก็สามารถดำเนินการฟ้องศาลได้
  • เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ เดิมกำหนดไว้ที่ร้อยละ 1 ซึ่งเงินดอกเบี้ยนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีเพดาน และงดหรือลดไม่ได้ โดยปัจจุบันยังคงไว้ที่ร้อยละ 1 แต่สามารถลดได้และมีเพดานไม่เกินเงินต้น ส่วนเบี้ยปรับที่ชำระหนี้ล่าช้า 20 เปอร์เซ็นต์ของหนี้ที่จะต้องเสียสามารถงดหรือลดได้
  • ของที่เป็นของพึงริบ ได้กำหนดให้เป็นไปตามดุลพินิจของศาล
กรมศุลกากรได้พัฒนานำระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการบริการผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งปัจจุบันเรียกว่าระบบ TCS ผู้ประสงค์จะดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำการลงทะเบียนกับกรมศุลกากร เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ซึ่งผู้ที่ลงทะเบียนแล้วสามารถเข้าสู่ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน SERVICE COUNTER ของเอกชนหรือที่จุดให้บริการของกรมศุลกากร ณ จุดนำเข้า-ส่งออก
การลงทะเบียนกับกรมศุลกากรต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
  1. คำร้องขอลงทะเบียนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ (ตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  5. ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของ จากสถาบันวิทยาการศุลกากร สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร จากสมาคมหรือสถาบันที่กรมศุลกากรรับรอง หรือ ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ชำนาญการศุลกากร จากสถาบันวิทยาการศุลกากร สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร
  6. หนังสือรับรองการเป็นพนักงาน/ลูกจ้างของตัวแทนออกของ (ยกเว้นบุคคลที่มีบัตรผ่านพิธีการศุลกากร หรือบัตรผู้ช่วยปฏิบัติพิธีการศุลกากร และได้ผ่านการอบรมและทดสอบจากสถาบันวิทยาการศุลกากรตามประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2549 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551
  7. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
  8. สำเนาเอกสารตามข้อ (2) - (5) อย่างละหนึ่งชุด พร้อมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
  9. โดยยื่นคำร้องที่ ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร กรมศุลกากรหรือยื่นผ่านสำนักงานศุลกากร หรือด่านศุลกากร ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนจะสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของได้สามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
 
พิธีการศุลกากรนำเข้าทางเรือ
ในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้า อาทิ กระทรวงพาณิชย์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ ฯลฯ ที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน โดยมีคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ดังนี้
  1. ผู้นำเข้าต้องยื่นแบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นสินค้าที่กรมศุลกากรกำหนดให้ใช้ ใบขนฯประเภทอื่น
  2. เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า
    1. สำหรับพิธีการชำระอากร พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลัง สินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ได้แก่
      1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ เว้นแต่กรณีที่กรมศุลกากรกำหนดให้มีการจัดทำคู่ฉบับเพิ่ม เช่น สำหรับการนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน กรณีดังกล่าวต้องมีสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับ
      2. ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก. 100/1)
      3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
      4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
      5. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading)
      6. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
      7. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้าได้จาก www.customs.go.th เลือกรายการของควบคุมการนำเข้า-ส่งออก
      8. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีขอลดอัตราอากร
      9. เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้าแค็ตตาล็อก เป็นต้น
    2. พิธีการหลายเที่ยวเรือ ต้องเพิ่มพิมพ์เขียว (BLUE PRINT) แบบแปลน แบบพิมพ์หรือเอกสารประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ
    3. พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิต้องเพิ่มสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า (กศก.99/1) อีก 1 ฉบับ
    4. พิธีการส่งเสริมการลงทุนต้องหนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
    5. พิธีการสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) มี 2 กรณีดังนี้ คือ
    6. กรณีสินค้าอยู่ในอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
      1. คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) ชำระอากร 1 ใน 10
      2. ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
    7. กรณีสินค้าอยู่นอกอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
      1. คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT)ขอคืนอากร9 ใน 10
      2. ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
    8. พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
      1. แบบ กนอ. 02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
      2. แบบ กนอ. 02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือการค้าเพื่อส่งออก
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้าทางเรือ
  1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจัดเตรียมข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบคอมพิวเตอร์กรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิง การอนุมัติ/อนุญาต เกี่ยวข้องและตรวจสอบบัญชีสินค้าสำหรับเรือโดยอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์
  2. การตรวจปล่อยสินค้าจะนำระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) มาใช้ในการสั่งการตรวจตามเงื่อนไขที่หน่วยงานศุลกากรกำหนดไว้ในระบบ Profile เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ ให้เปิดตรวจ (Red Line) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (Green Line) เมื่อระบบตรวจสอบเสร็จแล้วจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าและสั่งการตรวจให้อัตโนมัติ พร้อมกับแจ้งตอบกลับไปยัง ผู้ประกอบการทราบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และแจ้งโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือทราบถึงผลการสั่งการตรวจจากศุลกากร
    1. กรณียกเว้นการตรวจ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือรับมอบสินค้าได้ทันที
    2. กรณีให้เปิดตรวจ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือเพื่อเตรียมของเพื่อตรวจแล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า
    3. การชำระและวางเงินประกันค่าภาษีอากร ผู้ประกอบการสามารถเลือกชำระและวางเงินประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือชำระและวางเงินประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้
    4. การวางค้ำประกันค่าภาษีอากร ผู้ประกอบการสามารถเลือกวางค้ำประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือวางค้ำประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Guarantee) ได้
    5. การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า เป็นการตรวจ ณ ท่าที่ระบุในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อส่งของถึงแต่ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์ขอขนย้ายสินค้าไปตรวจปล่อยนอกเขตท่าที่นำเข้าได้แต่ต้องแจ้งล่วงหน้าในขั้นตอนจัดเตรียมใบขนสินค้าก่อนส่งมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
  3. ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร เอกสาร Deliver Order (D/O) ไปดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าในท่าเรือและขนถ่ายสินค้านำเข้ามาที่โกดังหรือโรงงาน หรือบริษัท
  4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่น้อย 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้
    1. IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
    2. IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
    3. IMPORT/EXPORT INVOICE LIST
 ของที่นำเข้าทางอากาศยานแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ...
  1. ของขวัญ ( Gift )
  2. ของตัวอย่าง ( Sample )
  3. ของเอกสิทธิ์ ( Diplomatic )
  4. ของใช้ส่วนตัว ( Personal Effect )
  5. สินค้า ( Cargo )
พิธีการศุลกากรขาเข้าทางอากาศยาน
     เมื่อผู้นำเข้าได้รับแจ้งจากบริษัทสายการบินว่าสินค้าได้นำเข้ามาแล้วโดยเครื่องบิน เที่ยวที่เท่าใดของบริษัทสายการบินใดแล้ว ผู้นำเข้าจะต้องไปติดต่อกับสายการบินที่รับบรรทุกนั้น เพื่อขอรับเอกสาร Delivery Order ( D/O ) และเอกสาร Airway Bill เสร็จแล้วจึงจัดเตรียมเอกสารต่างๆเพื่อยื่นขอชำระอากร
เอกสารที่ต้องยื่นต่อศุลกากรเพื่อรับมอบหรือตรวจปล่อยของไปจากอารักขาของศุลกากรได้แก่ 
  1. ใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการค้าจำนวน 4 ชุด : ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนาคู่ฉบับ 3 ชุด
  2. บัญชีราคาสินค้า ( Invoice )
  3. Airway Bill ( ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ )
  4. Delivery Order ( D/O )
  5. เอกสารอื่นๆ เช่น Packing List , ใบอนุญาตให้นำของเข้า (ถ้ามี)
ของที่ให้ใช้แบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษ 
     ปฏิบัติพิธีการคล้ายกับการเก็บอากรปากระวาง คือ ผู้นำของเข้าจัดทำแบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดยื่นเพียงฉบับเดียวโดยไม่มีสำเนา พร้อมกับใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน ( Airway Bill )และ Custom Permit พนักงานศุลกากรจะควบคุมของมาตรวจและตีราคาให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน แล้วจึงให้ชำระค่าภาษีอากรที่พึงต้องชำระและให้ผู้นำของเข้าลงนามรับของในแบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษโดยไม่ต้องมีใบสั่งปล่อยศุลกากร
* ของที่ให้ใช้แบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษนอกจากเป็นของที่กำหนดไว้แล้ว ยังเป็นของที่ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ไม่มีลักษณะเป็นสินค้า ได้แก่...
  • หนังสือพิมพ์รายวัน รายปักษ์และภาพข่าว
  • ส่วนประกอบของสิ่งอุปกรณ์อากาศยาน ซึ่งนำเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าหรือเพื่อใช้ซ่อม
  • ของผู้โดยสารซึ่งไม่ได้นำติดตัวเข้ามาพร้อมกับตน ( Unaccompanid Baggage ) ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นสินค้า
  • ของที่่นำเข้ามาแต่ละครั้งมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท (ราคา หมายความว่า ราคาตามกฏหมายศุลกากร )
สำหรับของติดตัวผู้โดยสารเข้ามา
     ของที่ผู้โดยสารนำติดตัวเข้ามา ถ้าไม่มีลักษณะเป็นสินค้า กล่าวคือ เป็นของใช้ส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ตามความหมายในประเภทที่ 5 ภาค 4 แห่ง ก.ม. พิกัดฯ ให้จัดเก็บอากรปากระวาง โดยผู้นำเข้า Declare รายละเอียดลงในแบบฟอร์มของติดตัวผู้โดยสารตามแบบที่กรมฯกำหนด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจผู้โดยสารจะดำเนินการประเมินราคาและค่าภาษีอากร แล้วจัดเก็บภาษีอากรเสียเอง โดยออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้นำเข้าไม่ต้องทำใบขนสินค้า
ราคาประเมินสำหรับของนำเข้าทางอากาศยาน
     ราคาประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้าทางอากาศยานให้ใช้ราคา F.O.B. + ค่าประกันภัย + ค่าระวางบรรทุกอากาศยานเป็นราคาพึงประเมิน
     หลักเกณฑ์อื่นๆ ในการประเมินราคา ใช้แนวเดียวกับการประเมินราคาสำหรับของนำเข้าทางเรือ ค่าวินิจฉัยพิธีการที่ 1/2508
  • ถ้าเป็นของที่นำเข้าทางอากาศยาน ให้บวกค่าระวางทางอากาศเข้าไป ก็เห็นได้ชัดว่ามีราคาสูงกว่าปกติเกินสมควร กรณีเช่นนี้ให้ถือเอาราคา C.I.F. แห่งของนั้น หากจะพึงนำเข้าทางเรือเป็นราคาประเมินเพื่อเก็บอากร
  • ในกรณีที่ของนำเข้าทางอากาศ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ของขวัญหรือของตัวอย่าง แต่บริษัทการบินผู้รับบรรทุกมิได้คิดค่าระวางจากผู้นำของเข้า ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามค่าระวางอันพึงต้องเสียแล้วรวมเข้ากับราคาของและค่าประกันภัย
  • กรณีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้รับตราส่งคิดราคา C.I.F. ทางเรือแก่ของที่บรรทุกอากาศยานเข้ามา ให้หักค่าระวางอันพึงต้องเสียทางเรือออก แล้วบวกค่าระวางอากาศเข้าไปแทน หากไม่อาจทราบค่าระวางบรรทุกเรือที่จะคำนวณหักออกได้ เพื่อความสะดวกให้คำนวณหักออกในอัตรา 10 % ของราคาของสินค้า
ในการนําเข้าสินค้า ผู้นําเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กําหนดไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมีคําแนะนําในการจัดเตรียมเอกสาร และปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนําเข้าสินค้า ดังนี้
    1. ใบขนสินค้าขาเข้าและเอกสารอื่นที่ให้ใช้แทนใบขนสินค้าขาเข้า
    2. แบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกําหนดให้ผู้นําเข้าใช้สําหรับพิธีการศุลกากร ดังนี้
    1. ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค้าเพิ่ม (กศก. 99/1) สําหรับการนําเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นสินค้าที่กรมศุลกากรกําหนดให้ใช้ใบขนฯ ประเภทอื่น
    2. คําร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน (กศก. 103) ใช้สําหรับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกําหนด
    3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสําหรับนําของเข้าหรือส่งของออกชั่คราว ใช้สําหรับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่าง ๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา
    4. แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสําหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียใช้สําหรับการนําเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
    5. ใบขนสินค้าถ่ายลํา (ใบแนบ 9)(แบบที่ 379) ใช้สําหรับพิธีการศุลกากรสินค้าถ่ายลํา
    6. ใบขนสินค้าผ่านแดน (แบบที่ 448) ใช้สําหรับพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดนตามความตกลงที่ประเทศไทยทําไว้กับประเทศต่างๆ
    7. ใบขนสินค้าพิเศษสําหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับการนํารถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
    8. ใบขนสินค้าพิเศษสําหรับเรือสําราญและกีฬาที่นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับการนําเรือสําราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
การนําเข้าสินค้าทางบก ณ ด่านพรมแดน หรือด่านตรวจ
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  1. ผู้นําเข้า/ตัวแทนออกของยื่นบัญชีสินค้าทางบก Car Manifest (แบบ ศ.บ. 1) ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ประจําด่านพรมแดน เพื่อดําเนินการตรวจสอบสินค้า และทะเบียนรถยนต์
  2. เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกข้อมูลรายละเอียด แบบ ศ.บ. 1 ลงในระบบคอมพิวเตอร์ (Car Manifest) และดําเนินการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามายังด่านศุลกากร
  3. ผู้นําเข้าหรือตัวแทน จัดทําและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบจะตรวจสอบข้อมูลสินค้าและตัดบัญชีกับ Car Manifest
  4. ผู้นําเข้าหรือตัวแทนฯ ชําระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชําระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร
  5. ชําระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกําหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย
    1. กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้นําเข้าหรือตัวแทนออกของสามารถรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร
    2. กรณีสั่งการเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้ากับข้อมูลใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสําแดงจะส่งมอบสินค้าให้ผู้นําเข้าหรือตัวแทนรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร
ของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 แบ่ง ออกเป็น 18 ประเภท ดังต่อไปนี้
  • ประเภทที่ 1 ของส่งออก รวมทั้งของที่ส่งกลับไป ซึ่งนำกลับเข้ามาภายใน 1 ปี
  • ประเภทที่ 2 ของที่นำเข้ามาโดยเสียอากรครบถ้วนแล้วมีการส่งกลับออกไปซ่อมและนำ กลับเข้ามาภายใน 1 ปี
  • ประเภทที่ 3 ของที่นำเข้ามาพร้อมตนหรือนำเข้ามาชั่วคราวและส่งกลับออกไปภายในไม่เกิน 6 เดือน
  • ประเภทที่ 4 รางวัลและเหรียญตราที่ต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร
  • ประเภทที่ 5 ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ
  • ประเภทที่ 6 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน
  • ประเภทที่ 7 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของอากาศยานหรือเรือ
  • ประเภทที่ 8 น้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งที่ใช้หล่อลื่นที่เติมในอากาศยานหรือในเรือ
  • ประเภทที่ 9 พืชผลที่ผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยปลูก
  • ประเภทที่ 10 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ
  • ประเภทที่ 11 ของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปเพื่อบริจาคเป็นสาธารณกุศล
  • ประเภทที่ 12 ของที่นำเข้าทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยบาท
  • ประเภทที่ 13 ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในอากาศ
  • ประเภทที่ 14 ตัวอย่างสินค้า
  • ประเภทที่ 15 คอนเทนเนอร์บรรจุของ
  • ประเภทที่ 16 ของที่นำเข้ามาสำหรับคนพิการใช้โดยเฉพาะ
  • ประเภทที่ 17 ของที่จำเป็นต้องนำเข้ามาเพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ
  • ประเภทที่ 18 ของส่งออกที่นำเข้ามาไม่เกิน 2 ปี และพิสูจน์โดยเป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากร
  • ประเภทที่ 19 ภาชนะสำหรับบรรจุของ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุ ยึด รัด กันกระแทก ที่นำเข้ามา และจะส่งกลับออกไป
ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
  • สารเสพติด
  • วัตถุ หรือสื่อลามก
  • ของลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
  • ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม
  • สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส
 ของต้องกำกัด หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามาและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่าง เช่น
ประเภท หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต
พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ กรมศิลปากร http://nsw.finearts.go.th
อาวุธปืน กระสุนปืน วัตถุระเบิด และสิ่งเทียมอาวุธปืน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย www.dopa.go.th
พืชและส่วนต่างๆของพืช กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th
สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ กรมปศุสัตว์ www.dld.go.th
อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา www.fda.moph.go.th
ชิ้นส่วนยานพาหนะ กระทรวงอุตสาหกรรม www.industry.go.th
บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมสรรพสามิต www.excise.go.th
เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  www.nbtc.go.th
ความผิดทางศุลกากร ความผิดทางศุลกากรที่มักพบได้เสมอๆ ในการการนําเข้าส่งออก สามารถจําแนกออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  • ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
การลักลอบหนีศุลกากรหมายถึง การนําของที่ยังไม้ได้เสียค้าภาษีอากร หรือของที่ควบคุมการนําเข้าหรือ ของที่ยังไม้ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทยโดยของที่ลักลอบหนี ศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกํากัดหรือไม่ก็ ได้ หากไม้นํามาผ่านพิธีการศุลกากรก็มีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร ทั้งนี้กฎหมายศุลกากรได้กําหนดโทษ ผู้กระทําผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรสําหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและ ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจําคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำและทั้งปรับ
  • ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การหลีกเลี่ยงภาษีอากรหมายถึงการนําของที่ต้องชําระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งของออกไปนอกประเทศ ไทยโดยนํามาผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องแต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชําระค่า ภาษีอากรหรือชําระในจํานวนที่น้อยกว่าที่จะต้องชําระเช่น สําแดงปริมาณ น้ําหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัด อัตราศุลกากรเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้นผู้นําเข้าหรือส่งออกที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงมีความผิดฐาน สําแดงเท็จอีกฐานหนึ่งด้วยกฎหมายศุลกากรได้กําหนดโทษผู้กระทําผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุดคือให้ ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจําคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้ง ปรับและจําแต่ในกรณีที่มีการนําของซุกซ้อนมากับของที่สําแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสําหรับของซุกซ้อน โทษ สําหรับผู้กระทําผิด คือ ปรับ 4 เท่าของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค้าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อ มหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี)และให้ยกของที่ซุกซ้อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
  • ความผิดฐานสำแดงไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์
การสําแดงเท็จหมายถึงการสําแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสาร และข้อเท็จจริงในการนําเข้าและส่งออกการกระทําผิดฐานสําแดงเท็จมีหลายลักษณะ ดังนี้ 3.1 การยื่นใบขนสินค้า คําสําแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็น ความเท็จ หรือไม่บริบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใด ๆ ก็ตาม 3.2 การไม่ตอบคําถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายด้วยความสัตย์จริง 3.3 การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทํา ไม่รักษาบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชีหรือเอกสาร หรือ ตราสารอย่างอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกําหนดไว้ 3.4 การปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นที่ปลอมแปลงแล้ว 3.5 การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว 3.6 การปลอมดวงตราลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานศุลกากรซึ่ง พนักงานศุลกากร นั้น ๆ ใช้ในการปฏิบัติหน่าที่ตามกฎหมาย การกระทําตามลักษณะที่เป็นไปตามข้อ3.1-3.6 ให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคํานึงถึงว่าผู้กระทําผิดมีเจตนา หรือกระทําโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ ทั้งนี้กฎหมายศุลกากรได้กําหนดโทษผู้กระทําผิดฐานสําแดงเท็จไว้ สูงสุดคือ ปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจําคุกไม่เกิน 6 เดือน
  • ความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด 
ของต้องห้ามคือของที่มีกฎหมายห้ามมิให้นําเข้าหรือส่งออก เช่น วัตถุลามกของที่มีการแสดงถิ่นกําเนิดเป็น เท็จ ของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ส่วนของต้องกํากัดคือ ของที่จะนําเข้า-ส่งออกได้ต้อง ได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตนําเข้า หรือส่งออกของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงสาธารณสุข ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือ ใบรับรองการวิเคราะห์หรือเอกสารกํากับยา เป็นต้น ของต้องกํากัดเหล้านี้หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายอื่น ๆ กําหนดแล้วก็สามารถนําเข้าหรือส่งออกได้ กฎหมายศุลกากรได้กําหนดโทษผู้กระทําผิดในการนําของต้องห้ามต้องกํากัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตสําหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกํากัดและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของ ของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจําคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจํา
  • ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
ในการนําเข้าและส่งออกสินค้าแต่ละครั้งผู้นําเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ใน กฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรและการ นําเข้า-ส่งออกเป็นไปด้วยความเรียบร้อยการกระทําผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่น การปฏิบัติพิธีการศุลกากรผิดท่า, การขอยื่นปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา19 ทวิ ย้อนหลัง
  • ความผิดฐานไม่เก็บรักษาเอกสารทางศุลกากร
  • ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของลักลอบหนีศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากร 2560 ได้ประกาศลงราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา กฎหมายจะมีผลบังคับจริงในเดือนพ.ย. 2560 นี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จําเป็นต้อง ปรับปรุงการดําเนินพิธีการศุลกากรและการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  • การประเมินอากร มาตรา 19
ผู้นำเข้าและส่งออกสินค้ามีหน้าที่ต้องสำแดงราคาและเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนถูกต้อง หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่ยอมเสียภาษีหรือเสียไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีภายใน 3 ปี หลังจากที่ยื่นใบขน และหากมีเหตุจำเป็นประเมินไม่ทันยังให้ขยายเวลาการประเมินภาษีได้อีก 2 ปี รวมเป็น 5 ปี
  • บทกําหนดโทษ มาตรา 206
กรณีที่พบหลักฐานว่า มีเจตนาฉ้อโกงไม่ยอมเสียภาษีให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีได้อีก 5 ปี หลังจากที่พ้นกำหนด 5 ปีแรกข้างต้น ทำให้เจ้าหน้ามีอำนาจประเมินภาษีผู้ฉ้อโกงภาษีเป็นเวลานานถึง 10 ปี
  • มาตรา ๒๓
หลังเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีแล้ว ให้ส่งกลับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีรับทราบและต้องชำระภายใน 30 วัน หากไม่ชำระให้เสียเงินเพิ่ม 1% ต่อเดือน และเสียค่าปรับ 20% ของภาษีที่ค้างชำระ
  • มาตรา ๒๔
อธิบดีกรมศุลกากรยังมีอำนาจยึดอายัดสินค้าของผู้ประกอบการที่อยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร หากครบกำหนด 30 วัน ไม่ยอมชำระภาษีให้ครบ กรมศุลกากรสามารถที่จะขายทอดตลอดสินค้าเพื่อนำเงินมาชำระภาษีได้ หากยังไม่พอชำระค่าภาษี อธิบดีกรมศุลกากรยังมีอำนาจยึดอายัดสินทรัพย์ของผู้เสียภาษีไม่ครบได้ทั่วราชอาณาจักรโดยไม่ต้องขอคำสั่งจากศาล เพื่อขายทอดตลาดและชำระค่าภาษีให้ครบจำนวน การวินิจฉัยอากรและการอุทธรณ์การประเมินอากร การอุทธรณ์ภาษีได้กำหนดกรอบเวลาให้รวดเร็วมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก โดยคณะกรรมการอุทธรณ์จะต้องพิจารณาให้เสร็จภาย 180 วัน และขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 90 วัน จากกฎหมายเดิมที่ไม่มีการกำหนดเวลา บทลงโทษผู้ให้ข้อมูลการเสียภาษีเป็นเท็จ ต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ผู้ขอคืนภาษีนำเข้าเป็นเท็จ ต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และผู้หลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับครึ่งเท่าและไม่เกิน 4 เท่าของภาษีที่ขาด และศาลยังมีอำนาจยึดทรัพย์ได้
  • มาตรา ๒๕๕
เงินรางวัลและสินบนนำจับ กฎหมายกำหนดไว้ให้อย่างละ 20% จากค่าขายของกลาง แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งกรมศุลกากรยืนยันว่าการมีเงินรางวัลและสินบนยังมีความจำเป็น แม้ว่าผู้ประกอบการจะเรียกร้องให้ยกเลิก
  • ระบบ National Single Window (NSW) 
เป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (G2G,G2B และ B2B) สำหรับการเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นระบบบริการแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติควบคู่ไปกับการปฏิรูปกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ และการลดรูปเอกสาร โดยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและไร้เอกสาร รวมถึงการใช้ข้อมูลร่วมกันกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถติดตามผลในทุกๆ ขั้นตอนของการดำเนินงานนำเข้า ส่งออกและการอนุมัติต่างๆผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ (e-Tracking) ทุกวันและตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
  • กำเนิดระบบ National Single Window (NSW) ของประเทศ
กรมศุลกากร ได้เริ่มนำแนวคิดของ Single Window มาประยุกต์ใช้สำหรับการนำเข้าการส่งออกมาตั้งแต่ปี 2541 โดยพัฒนาบริการศุลกากรจากระบบเอกสารกระดาษเป็นระบบการแลกเปลี่ยนเอกสารในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Data Interchange: EDI และสามารถให้บริการระบบ EDI ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) ของประเทศไทยที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมศุลกากรและผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนออกของ ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า บริษัทเรือ สายการบิน และธนาคารต่างๆ และต่อมาพัฒนาเป็นระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ไร้เอกสาร (e-Customs) ให้บริการ ทั่วประเทศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ NSW ของประเทศ และส่งผลให้การจัดอันดับของธนาคารโลกเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยดี มากขึ้นตามลำดับ มติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548 มอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานหลักในการ ดำเนินการจัดตั้ง NSW ซึ่งเป็นระบบศูนย์กลางการเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการนำเข้า การส่งออก และโลจิสติกส์โดยให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออกให้ความร่วมมือเพื่อร่วมกันผลักดันให้การจัดตั้ง NSW สำเร็จตามเป้าหมาย และให้กรมศุลกากรจัดทำ MOU กับศุลกากรประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้กรอบ ASEAN Agreement to Establish and Implement the ASEAN Single Window และ ASEAN Protocol to Establish and Implement the ASEAN Single Window ได้เฉพาะที่อยู่ในกรอบหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเฉพาะ เพื่อผลักดันให้ ASEAN Single Window จัดตั้งได้สำเร็จตามเป้าหมาย
  • ระบบ NSW ของประเทศเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับ ผู้ให้บริการระบบ Electronic Windows ที่มีอยู่แล้วในขณะนั้น รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบศุลกากร ไร้เอกสาร เพื่อให้บริการผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออกทั่วประเทศแบบไร้เอกสารได้อย่าง ต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการค้าที่ใช้ระบบศุลกากรไร้เอกสารอยู่แล้ว รวมทั้งหน่วยงาน ภาครัฐที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมศุลกากรอยู่ก่อนแล้ว ปัจจุบันระบบNSW ให้บริการ เชื่อมโยงข้อมูลซึ่งประกอบด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (G2G),การเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (G2B) และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาคธุรกิจและ ภาคธุรกิจ (B2B) บางส่วน โดยมีความก้าวหน้าการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่างๆ กับระบบ NSW
  • กรมศุลกากรเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ผู้ออกใบอนุญาต/ใบรับรอง และผู้ประกอบการ เช่น ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนออกของ ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า บริษัทเรือ สายการบิน และธนาคารต่างๆ เชื่อมโยงข้อมูลใบขนสินค้า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554

 

 

Swift Logistics Cross Border Trucking & Domestic Transportation

ประกาศกรมศุลกากร 2561

Swit Logistics Co.,Ltd has various types and size of fleets, which enables us to move all size and types of cargoes (in-gauge, out of gauge) through land. With a backup of this, our experienced transport team moves all types of cargoes professionally within the country and to all around ASEAN destinations.

Swift Logistics serves international land transports connecting ASEAN cities with Bangkok as the central hub deliver to Myanmar, Cambodia, Malaysia, Singapore, Laos, Vietnam and China. The Two-Way Traffic Cross Border Road Transport Agency Thai-Laos-Vietnam-China & Thai-Malaysia-Singapore. Thailand – Laos – Vietnam – China. 

We offer the best possible solution to your requirement. We handle and safety delivery, domestic and international transport of your general cargo, frozen & chill food, heavy, over-sized, dangerous cargoes.

Door-to-door service with Full Truck Load (20’ & 40’ cont) and Less Than Truck Load and Loose Cargo, we also serve normal and heavy cargo trailer (Flatbed & Lowbed trailer).

We can assist solutions of customs clearance for businesses by shipping staff with both imports – export clearance, including advice on customs tariffs, duty rates and overseas trade enquirers, preparing export, import, re-export, transit, transshipment documentations requirements operating paperless direct online E-Customs.

We also apply for our customers various E-License with Nation Single Window (NSW) system issued by government agencies such as Food and Drung Administration, Department of Agriculture, Ministry of Communication. Etc..

We shall do all declaration cleared and delivered provides fast and easy customs clearance by us will be smoothly Import-Export in Thailand.

บริษัท สวิฟท์ โลจิสติกส์ จำกัด มีบริการขนส่งโดยเรามีรถร่วมวิ่งงานบรรทุกไว้ให้บริการ ทั้งกระบะ 4ล้อ, 6ล้อ, 10ล้อ (ตู้ทึบและคอก), รถหัวลากเทรลเลอร์ แบบตู้แห้งและแบบตู้เย็น, 10ล้อพ่วง, รถดั๊มมาตรฐานทั้งหกล้อ สิบล้อ และ รถพ่วง, ห่างรถเทรลเลอร์ ห่างโลเบท (Low Bed) ห่างพื้นเรียบ (Flat Bed) ห่างก้างปลา (Trailer) 6ล้อ/10ล้อติดเครน (Truck Crane) มากกว่า 200 คัน ไว้คอยให้บริการขนส่ง สินค้าทั้วไปทุกประเภท งานขนส่งสินค้าหนักและใหญ่ เช่น เครืองจักร หิน ดิน และแร่ ทุกชนิด พร้อมด้วยพนักงานขับรถที่เชี่ยวชาญเส้นทาง และมีมารยาทการขับขี่ที่ดี ให้คุณมั่นใจได้ว่า จะได้รับสินค้าในเวลาที่รวดเร็วและครบถ้วนปลอดภัยในการขนส่ง

   

 
 

Mainly Customs Clearance Services Included:

Customs Specialist Certified by Thai Customs Dept

  • Customs Formalities Import and Export for Air & Sea port.
  • Assistance in the preparation of all required import documentations.
  • Tax calculation and communications with authorities.
  • Application for Import/Export permits.
  • Customs clearance for BOI Formalities.
  • Tax refund under section 29.
  • ATA CARNET Formalities.
  • FTA Form C/O, ATG, AAN, ACN, AK, AIN, AJ, Form E, Form D, SC1-2, TAU, TNZ, TIN, TJ, TC Free Duty Customs Formalities.
  • Re-export & In-transit customs process.
  • Bonded warehouses & Free Zone.

บริการด้านพิธีการศุลกากรของเรา :

    • พิธีการศลกากรนำเข้า ส่งออกทั่วไป (ทางรถ เรือ เครื่องบิน)
    • พิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน ถ่ายลำ (ทางรถ เรือ เครื่องบิน) 
    • พิธีการนำเข้าหรือส่งออกโดยใช้สิทธิ FTA ฟรีโซน คลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก
    • พิธีการศุลกากรหลายเที่ยวเรือ (ทางรถ เรือ เครื่องบิน) 
    • พิธีการสำหรับผู้ได้สิทธิส่งเสริมการลงทุน
    • พิธีการสำหรับสินค้าส่งซ่อม หรือส่งคืนกลับ
    • พิธีการเพื่อยกเว้นภาษี การขอชดเชยอากร
    • พิธีการสำหรับงานแสดงสินค้า ATA Carnet นำเข้าเป็นการชั่วคราว 
    • พิธีการ ตามมาตรา 28, 29 
    • พิธีการการวางประกันเพื่อโต้แย้งพิกัดหรือราคา พิธีการสงวนสิทธิต่างๆ
    • บริการที่ปรึกษาทางด้านศุลกากร
    • บริการให้คำปรึกษาพิกัดโดยผู้ชำนาญการ
    • บริการส่งวินิจฉัยพิกัดสินค้ากับกรมศุลกากร
    • บริการให้คำปรึกษาในการประเมินความเสี่ยง ป้องกันก่อนและหลังการตรวจปล่อย
  • บริการให้คำปรึกษาและแนะนำโมเดลสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ลูกค้าพึงจะได้รับในการลดต้นทุนด้านภาษี และขนส่งสินค้านำเข้าส่งออก กระจายสินค้าทั่วโลก

Swift Logistics Co.,Ltd.

“The Digital Brokers & Global Freight Management”

www.tgl-log.com/swift-logistic