สิงคโปร์เปิดตัวเทคโนโลยี Blockchain เป็นครั้งแรกของโลก

สิงคโปร์เปิดตัวเทคโนโลยี BlockChain ระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกของโลกสำหรับการค้าระหว่าง ASEAN และจีน ผ่าน “เส้นทางสายไหมดิจิทัล”

 

เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ Global e-Trade Services (GeTS) ซึ่งเป็นสาขาย่อยของ Crimson-Logic (รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ให้บริการภาครัฐ (eGovernment products) ของสิงคโปร์ ได้เปิดตัว Open Trade Blockchain (OTB) หรือบริการ Blockchain แบบเต็มรูปแบบสำหรับประชาคมการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับความมั่นคง และเพิ่มความโปร่งใสในการค้าโลก โดย OTB เป็น Blockchain Platform ระหว่างประเทศ ในภูมิภาคแห่งแรกที่เชื่อมกับ Belt Road Initiative (BRI) และ Southern Transport Corridor ของจีน

 

OTB เป็นเครือข่าย Blockchain ที่ได้รับอนุญาตและบริหารจัดการโดยผู้ประกอบการที่ได้ขึ้นทะเบียน เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายการค้า (whitelisted accredited trade compliance companies) โดย OTB ช่วยยกระดับความปลอดภัยของเอกสารการค้าตั้งแต่ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตลอดจนใบแจ้งราคาสินค้า รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้ขนส่ง ตัวแทนออกของ และลูกค้า

 

OTB ได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย แม้ผู้ประกอบการจะไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในระดับสูง โดยมีการใช้งานแบบ “ลากและวาง” (drag-and-drop) รวมทั้งเอื้อ อำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถน าไปใช้งานร่วมกับระบบของตัวเองได้ด้วย

 

ในโอกาสนี้ GeTS กำลังให้ความช่วยเหลือผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น China-ASEAN Information Harbor Co., Suzhou Cross-E-commerce Co. Ltd. ( ผู้ให้บริการ Suzhou E-commerce Single Window) และ Commodities Intelligence Centre นอกจากนี้ Korea Trade Network
(KTNET), PT-EDI Indonesia, TIFFA EDI Services Co. Ltd. และ Trade-Van Information Services Co. กำลังให้ความสนใจเข้าร่วมด้วย อันจะช่วยให้เครือข่าย Blockchain แผ่ขยายครอบคลุมเอเชียมากยิ่งขึ้นในฐานะจุดให้บริการเสร็จสรรพ ณ จุดเดียวแบบอิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลก (global electronic single window) เชื่อมโยงผู้ประกอบการสู่ “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” (Digital Silk Road) ตามโครงการ BRI ของจีน

 

อ้างอิง
https://www.crimsonlogic.com/Documents/pdf/newsAndEvents/media/Press_Release_Announcement_GeTS_l
aunches_worlds_first_cross-border_BC_for_trade_linking_ASEAN_and_China.pdf

ตารางถ่ายทอดสด ฟุตบอลโลก 2018 ครั้งที่ 21 ที่ประเทศรัสเซีย (เวลาตรงใจคนไทยมากๆ)

โปรแกรม ตาราง ถ่ายทอดสด ฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2561 ดูบอลโลกสดวันนี้

 

การแบ่งกลุ่มใน ฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งมีทั้งหมด 32 ทีม โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มดังนี้

  • กลุ่ม A : รัสเซีย (เจ้าภาพ), ซาอุดิอาระเบีย, อียิปต์, อุรุกวัย
  • กลุ่ม B : โปรตุเกส, สเปน, โมร็อกโก, อิหร่าน
  • กลุ่ม C : ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, เปรู, เดนมาร์ก
  • กลุ่ม D : อาร์เจนติน่า, ไอซ์แลนด์, โครเอเชีย, ไนจีเรีย
  • กลุ่ม E : บราซิล, สวิตเซอร์แลนด์, คอสตาริก้า, เซอร์เบีย
  • กลุ่ม F : เยอรมนี, เม็กซิโก, สวีเดน, เกาหลีใต้
  • กลุ่ม G : เบลเยี่ยม, ปานามา, ตูนิเซีย, อังกฤษ
  • กลุ่ม H : โปแลนด์, เซเนกัล, โคลอมเบีย, ญี่ปุ่น

โดยในแต่ละกลุ่มจะเตะแบบพบกันหมด ทีมแชมป์กับรองแชมป์ของแต่ละกลุ่มจะได้ผ่านเข้าสู่รอบน็อคเอาท์ 16 ทีมต่อไป สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 21 หรือ รัสเซีย 2018 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม เราไปดู โปรแกรมฟุตบอลโลก 2018 กันเลย

14 มิถุนายน 2561

  • 22:00 รัสเซีย – ซาอุดิอารเบีย

15 มิถุนายน 2561

  • 19:00 อียิปต์ พบ อุรุกวัย
  • 22:00 โมร็อกโก พบ อิหร่าน
  • 01:00 โปรตุเกส พบ สเปน

16 มิถุนายน 2561

  • 17:00 ฝรั่งเศส พบ ออสเตรเลีย
  • 20:00 อาร์เจนตินา พบ ไอซ์แลนด์
  • 23:00 เปรู พบ เดนมาร์ก
  • 01:00 โครเอเชีย พบ ไนจีเรีย

17 มิถุนายน 2561

  • 19:00 คอสตาริกา พบ เซอร์เบีย
  • 22:00 เยอรมนี พบ เม็กซิโก
  • 01:00 บราซิล พบ สวิตเซอร์แลนด์

18 มิถุนายน 2561

  • 19:00 สวีเดน พบ เกาหลีใต้
  • 22:00 เบลเยี่ยม พบ ปานามา
  • 01:00 ตูนิเซีย พบ อังกฤษ

19 มิถุนายน 2561

  • 19:00 โคลอมเบีย พบ ญี่ปุ่น
  • 22:00 โปแลนด์ พบ เซเนกัล
  • 01:00 รัสเซีย พบ อียิปต์

20 มิถุนายน 2561

  • 19:00 โปรตุเกส พบ โมร็อกโก
  • 22:00 อุรุกวัย พบ ซาอุดิอารเบีย
  • 01:00 อิหร่าน พบ สเปน

21 มิถุนายน 2561

  • 19:00 เดนมาร์ก พบ ออสเตรเลีย
  • 22:00 ฝรั่งเศส พบ เปรู
  • 01:00 อาร์เจนตินา พบ โครเอเชีย

22 มิถุนายน 2561

  • 19:00 บราซิล พบ คอสตาริกา
  • 22:00 ไนจีเรีย พบ ไอซ์แลนด์
  • 01:00 เซอร์เบีย พบ สวิตเซอร์แลนด์

23 มิถุนายน 2561

  • 19:00 เบลเยี่ยม พบ ตูนิเซีย
  • 22:00 เกาหลีใต้ พบ เม็กซิโก
  • 01:00 เยอรมนี พบ สวีเดน

24 มิถุนายน 2561

  • 19:00 อังกฤษ พบ ปานามา
  • 22:00 ญี่ปุ่น พบ เซเนกัล
  • 01:00 โปแลนด์ พบ โคลอมเบีย

25 มิถุนายน 2561

  • 21:00 อุรุกวัย พบ รัสเซีย
  • 21:00 ซาอุดิอารเบีย พบ อียิปต์
  • 01:00 อิหร่าน พบ โปรตุเกส
  • 01:00 สเปน พบ โมร็อกโก

26 มิถุนายน 2561

  • 21:00 เดนมาร์ก พบ ฝรั่งเศส
  • 21:00 ออสเตรเลีย พบ เปรู
  • 01:00 ไนจีเรีย พบ อาร์เจนตินา
  • 01:00 ไอซ์แลนด์ พบ โครเอเชีย

27 มิถุนายน 2561

  • 21:00 เกาหลีใต้ พบ เยอรมนี
  • 21:00 เม็กซิโก พบ สวีเดน
  • 01:00 เซอร์เบีย พบ บราซิล
  • 01:00 สวิตเซอร์แลนด์ พบ คอสตาริกา

28 มิถุนายน 2561

  • 21:00 ญี่ปุ่น พบ โปแลนด์
  • 21:00 เซเนกัล พบ โคลอมเบีย
  • 01:00 อังกฤษ พบ เบลเยี่ยม
  • 01:00 ปานามา พบ ตูนิเซีย

 

รอบแข่งตามกลุ่มนัดสุดท้ายที่เตะพร้อมกันในแต่ละกลุ่ม รวมถึงรอบ 16 ทีมและรอบก่อนรองชนะเลิศ:
– 21.00
– 01.00

รอบรองชนะเลิศ:
– 01.00
รอบชิงที่สาม:
– 21.00
รอบชิงชนะเลิศ:
– 22.00

 

15 ข้อคิดดีๆจาก ‘แจ็ค หม่า’ที่ทุกคนควรจะได้รับฟัง และนำไปปรับใช้ในชีวิต

สำหรับตอนนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักชื่อของชายคนนี้ Jack Ma เศรษฐีชาวจีนผู้ก่อตั้ง Alibaba ที่ผงาดขึ้นมาเป็นหนึ่งในเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุดของโลกไปเป็นที่เรียบร้อย

ตอนนี้มูลค่าของบริษัทเขานั้นสูงกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะว่าไปแล้วไม่เลวเลยนะเนี่ย สำหรับชายที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ถึงสองครั้ง แถมถูกปฏิเสธตอนไปสมัครเป็นพนักงาน KFC ในละแวก -*-

กว่าจะประสบความสำเร็จจนถึงจุดๆ นี้ เขามีความลับอะไรกันหน๊ออ?? เราเองก็ไม่สามารถบอกได้ วันนี้เราเลย 15 คำคมของ Jack Ma คนนี้ซึ่งรวบรวมไว้โดยเว็บ www.tgl-log.com

ถ้าอ่านแล้วเราอาจได้เรียนรู้อะไรดีๆ จากเขาสักอย่างสองอย่างก็เป็นได้

 

 

  1. “Today is cruel. Tomorrow is crueler. And the day after tomorrow is beautiful.”

วันนี้มันโหดร้าย พรุ่งนี้นั้นจะโหดร้ายกว่า แต่ถ้าผ่านมันไปได้ล่ะก็ วันที่สดใสจะมาถึงอย่างแน่นอน

 

  1. “Hire the person best suited to the job, not the most talented. This can be a very painful lesson. There’s no point putting in a Boeing jet engine when you need to run a tractor.”

จ้างคนใหม่เหมาะสมกับงาน ไม่ใช่คนที่มีพรสวรรค์ เพราะมันอาจเป็นบทเรียนความผิดพลาดที่หนักหนากับคุณเลยก็ได้ พูดง่ายๆ เลย เราไม่ต้องการเครื่องยนต์ของเครื่องบินมาใส่ในรถไถหรอกใช่มั้ยล่ะ?

 

  1. “Never deceive others, in business or in life. In 1995, I was deceived by four companies — four companies that are now closed. A company cannot go far by deceit.”

อย่าหลอกลวงผู้อื่นเด็ดขาด ในปี 1995 ผมถูกหลอกโดยบริษัทถึง 4 แห่งด้วยกัน ตอนนี้ทั้ง 4 แห่งนั้นปิดตัวไปแล้ว ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นานหรอก

 

  1. “Intelligent people need a fool to lead them. When the team’s all a bunch of scientists, it is best to have a peasant lead the way. His way of thinking is different. It’s easier to win if you have people seeing things from different perspectives.”

บางครั้งเราก็ต้องมีมุมมองที่แตกต่างออกไป สมมติเช่นถ้าทั้งทีมประกอบไปด้วยนักวิทยาศาสตร์เป็นขโยงล่ะก็ ควรให้ชาวบ้านธรรมดาๆ นำทางพวกเขานะ เพราะความคิดของเขานั้นไม่เหมือนกลุ่มคนที่เหลือ มันง่ายนะที่จะชนะในเรื่องอะไรถ้าคุณลองมองในมุมที่แตกต่างออกไปน่ะ

 

  1. “I am a very simple guy, I am not smart. Everyone thinks that Jack Ma is a very smart guy. I might have a smart face but I’ve got very stupid brains.”

ผมเป็นคนธรรมดาๆ ผมไม่ได้ฉลาด ทุกๆ คนคิดว่า Jack Ma น่ะ เป็นคนที่ฉลาดมากๆ แต่ถึงผมจะมีหน้าตาที่ดูฉลาดนั้น ลึกๆ แล้วผมโง่นะ 

 

  1. “the dark days at Alibaba”: “If you don’t give up, you still have a chance. And, when you are small, you have to be very focused and rely on your brain, not your strength.”

ในช่วงขาลงของ Alibaba ถ้าคุณไม่ยอมแพ้ คุณก็ยังคงมีความหวัง และถ้าคุณอ่อนแอนั้น แสดงว่าคุณต้องใช้สมองให้มากขึ้น ไม่ใช่ทุ่มเทแรงกายให้มากขึ้นหรอกนะ

 

  1. “If we are a good team and know what we want to do, one of us can defeat 10 of them.”

ถ้าเรามีทีมที่ดีและมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนล่ะก็ เราสามารถเอาชนะทีมตรงข้ามได้นับสิบทีมเลยล่ะ

 

  1. “It doesn’t matter if I failed. At least I passed the concept on to others. Even if I don’t succeed, someone will succeed.”

มันไม่สำคัญหรอกในเรื่องของความล้มเหลวน่ะ อย่างน้อยแนวคิดนั้นๆ ของเราก็ผ่านสายตาคนอื่นไปบ้าง และถึงแม้สุดท้ายแล้วเราจะไม่สำเร็จในเรื่องนั้นๆ แต่ก็จะมีคนสืบสานและทำมันจนสำเร็จอยู่ดีในวันหนึ่ง

 

  1. “We will make it because we are young and we will never, never give up.”

เราจะทำมันจนสำเร็จได้ เพราะว่าเรายังหนุ่มยังแน่น และเราไม่เคย ไม่เคยเลยที่จะยอมแพ้แม้แต่ครั้งเดียว!!

 

  1. “If we go to work at 8 a.m. and go home at 5 p.m., this is not a high-tech company and Alibaba will never be successful. If we have that kind of 8-to-5 spirit, then we should just go and do something else.”

ถ้าเราต้องไปทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นล่ะก็ นั่นไม่ใช่วิธีการที่บริษัทเทคโนโลยีเขาทำกันหรอก และ Alibaba จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ ถ้าเราต้องอยู่ในกฎเกณฑ์นั้นๆ ล่ะก็ เราควรไปทำธุรกิจอย่างอื่นมากกว่านะ

 

  1. “Always keep in mind these three principles: what you want to do, what you should do, and for how long you should do it.”

3 ปัจจัยหลักนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก คุณอยากทำอะไร คุณควรทำอะไร และคุณควรใช้เวลาทำมันเท่าไร!?

 

  1. “You should learn from your competitor but never copy. Copy, and you die.”

คุณควรเรียนรู้จากคู่แข่ง ไม่ใช่เลียนแบบ การเลียนแบบคือจุดจบของคุณ!!

 

  1. “Alibaba is not just a job. It’s a dream. It’s a cause. Let the Wall Street investors curse us if they want.”

Alibaba ไม่ได้เป็นเพียงงานๆ หนึ่งเท่านั้น มันคือความฝัน มันคือความมุ่งหมาย แม้เหล่านักลงทุนของวอลล์สตรีทจะสาปแช่งเราก็ตามทีเถอะ!!

 

  1. “If you want to grow, find a good opportunity. Today, if you want to be a great company, think about what social problem you could solve.”

ถ้าอยากเติบโตล่ะก็ คุณต้องตามหาโอกาศ และทุกๆ วันนี้ ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในธุรกิจล่ะก็ ลองคิดเล่นๆดูสิว่าคุณสามารถแก้ปัญหาอะไรให้สังคมได้บ้าง

 

  1. “In carrying out e-commerce, the most important thing is to keep doing what you are doing right now with passion, to keep it up.”

ในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้อยู่รอด สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือคุณต้องทำสิ่งนั้นๆ ด้วยความลุ่มหลง ด้วยแรงผลักดันในตัวเอง เพื่อให้มันก้าวไปข้างหน้าได้

 

ได้อะไรดีๆ จากเขาไปบ้างหรือไม่ เห็นแบบนี้รู้สึกว่าจะประสบความสำเร็จแบบเขาได้นี่ มันไม่ง่ายเลยจริงๆ

 

 

ถั่วดาวอินคา สรรพคุณ

ถั่วดาวอินคา สรรพคุณ และการปลูกถั่วดาวอินคา  

Superfood Roasted Sacha Inchi ( 500 Grams) TGL BRAND

Product description

Sacha Inchi seeds come from the exotic star shaped pod of a Peruvian plant native to the Andes. Prized for centuries by the Incas, they were used for ceremonial and medicinal purposes and were incorporated into the daily diet. Also known as the Inca Nut, these seeds are an incredible vegetarian source of healthy Omega-3, Fiber and Iron. They offer an ideal ratio of Omega 3 to Omega 6 and provide protein as well as a host of other nutrients. Organic Traditions Sacha Inchi Seeds are Certified Organic, gluten free and guaranteed for optimal freshness. Organic Traditions Sacha Inchi Seeds are raw and slow dried with the most delicious and nutty flavor. Enjoy them as is or combine them with other Organic Traditions Superfoods such as Cacao Nibs, Golden Berries, Coconut and Chia Seeds to make a nourishing and satisfying trail mix. Toss into salads, decorate desserts and throw them into the blender with your favorite Organic Traditions superfoods to create delicious smoothies.-plukenetia volubilis-

Contact us for price

Tel: (+662)1473670-71, EMAIL: vichu@tgl-log.com

ถั่วดาวอินคา (Sacha inchi) เป็นพืชที่พบทั่วไปในแถบประเทศอเมริกาใต้ ซึ่งมนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยอินคา หรือในช่วงปี ค.ศ. 1438-1533 และสืบทอดมากันมาสู่คนพื้นเมืองมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการนำถั่วดาวอินคามาใช้ประโยชน์หลากหลาย อาทิ เมล็ดคั่วสุกใช้ทำซอส สกัดน้ำมัน หรือรับประทานเป็นอาหารคบเคี้ยว และใบใช้ประกอบอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ จากแหล่งกำเนิด และเคยมีชาวอินคานำมาใช้ประโยชน์ ประเทศไทยจึงเรียกถั่วชนิดนี้ว่า ถั่วดาวอินคา

• วงศ์ : Euphorbiaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plukenetia volubilis L.
• ชื่อสามัญ :
– Sacha inchi
– Inca peanut
– Sacha peanut
– Mountain peanut
– Supua peanut
• ชื่อท้องถิ่น : ถั่วดาวอินคา

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ถั่วดาวอินคา มีถิ่นกําเนิดในแถบประเทศอเมริกาใต้บริเวณแถบประเทศเปรู พบเติบโต และแพร่กระจายทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 100-2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ปัจจุบัน ถูกนำเข้ามาปลูกในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ถั่วดาวอินคา มีลำต้นเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุนาน 10-50 ปี ลำต้นแตกกิ่งเป็นเถาเลื้อยได้ยาวมากว่า 2 เมตร เถาอ่อนมีสีเขียว เถาแก่หรือโคนเถามีสีน้ำตาล แก่นเถาแข็ง และเหนียว

ใบ
ถั่วดาวอินคาเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเยื้องกันตามความยาวของเถา ใบมีรูปหัวใจ โคนใบกว้าง และเว้าตรงกลางเป็นฐานหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม แผ่นใบมีสีเขียวสด และมีร่องตื้นๆตามเส้นแขนงใบ ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีก้านใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนแผ่นใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b2

ดอก
ถั่วดาวอินคาออกดอกเป็นช่อตามซอกใบบนเถา แต่ละช่อมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะทรงกลม สีเขียวอมเหลือง เป็นดอกชนิดแยกเพส แต่รวมอยู่ในช่อดอก และต้นเดียวกัน โดยดอกเพสเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อดอก 2-4 ดอก ส่วนดอกเพศผู้มีจำนวนมากถัดจากดอกเพศเมียมาจนถึงปลายช่อดอก ทั้งนี้ ถั่วดาวอินคาจะติดดอกครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน หลังเมล็ดงอก และผลจะแก่ที่พร้อมเก็บได้ประมาณอีก 3-4 เดือน หลังออกดอก

ผล และเมล็ด
ผลถั่วดาวอินคาเรียกเป็นฝัก มีลักษณะเป็นแคปซูลที่แบ่งออกเป็นพูๆหรือแฉก 4-7 พู ขนาดฝักกว้าง 3-5 เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวสด และมีประสีขาวกระจายทั่ว แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุก และแก่จนแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล พร้อมกับเปลือกปริแตกจนมองเห็นเมล็ดด้านใน

%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b2

เมล็ดถั่วดาวอินคาใน 1 ผลหรือฝัก จะมีจำนวนเมล็ดตามพูหรือแฉก อาทิ ฝักมี 5 พู ก็จะมี 5 เมล็ด หากมี 7 พู ก็จะมี 7 เมล็ด โดยเมล็ดจะแทรกอยู่ในแต่ละพูในแนวตั้ง เมล็ดมีรูปทรงกลม และแบน ขอบเมล็ดบางแหลม ตรงกลางเมล็ดนูนเด่น ขนาดเมล็ดกว้าง 1.5-2.0 เซนติเมตร ยาว 1.8-2.2 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ย 1.5 กรัม/เมล็ด เปลือกเมล็ดเป็นแผ่นบาง มีสีน้ำตาลอมดำ ถัดมาจากเปลือกเป็นเนื้อเมล็ดที่มีสีขาว เนื้อเมล็ดเมื่อคั่วสุกจะกรอบ และมีรสมันอร่อย มีน้ำมันปริมาณมาก

%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b2

ประโยชน์ถั่วดาวอินคา
1. เมล็ดถั่วดาวอินคานำมาคั่วไฟร้อนให้สุกก่อนรับรับประทานเป็นอาหารขบเคี้ยว เนื้อเมล็ดหอม กรอบ และมีรสมันอร่อยคล้ายกับเมล็ดถั่ว
2. เมล็ดถั่วดาวอินคาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว อาทิ ถั่วคั่วเกลือ ถั่วทอด เป็นต้น
3. เมล็ดถั่วดาวอินคานำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว เป็นต้น รวมถึงแปรรูปเป็นแป้งถั่วดาวอินคาสำหรับใช้ประกอบอาหาร และทำขนมหวาน
4. เมล็ดถั่วดาวอินคานำมาสกัดน้ำมัน ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
– ใช้เป็นน้ำมันรับประทานเพื่อเป็นอาหารเสริมให้แก่ร่างกาย โดยมักผลิตในรูปบรรจุขวดหรือบรรจุแคปซูลพร้อมรับประทาน
– ใช้เป็นน้ำมันทอดหรือประกอบอาหาร
– ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น โฟมล้างหน้า สบู่ น้ำหอม และครีมบำรุงผิว เป็นต้น
– น้ำมันที่สกัดได้ใช้สำหรับทานวดแก้ปวดเมื่อย รวมถึงใช้ชโลมผมให้ดกดำ และจัดทรงง่าย
5.ใบอ่อน และยอดอ่อนนำมาประกอบอาหาร เนื้อใบ และยอดอ่อนมีความนุ่ม และมีรสมัน ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว สามารถทำได้ในหลายเมนู อาทิ ยอดถั่วดาวอินคาผัดน้ำมันหอย แกงจืดยอดอ่อนถั่วดาวอินคา แกงเลียงหรือแกงอ่อมยอดอ่อนถั่วดาวอินคา เป็นต้น รวมถึงนำยอดอ่อนมาลวกหรือรับประทานสดคู่กับน้ำพริกหรืออาหารจำพวกลาบ ซุบหน่อไม้ เป็นต้น
6. ใบแก่ที่มีมีสีเขียวเข้มนำมาสับเป็นชิ้นเล็ก แล้วตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม
7. ใบที่มีสีเขียวสดนำมาสกัดคลอโรฟิลล์หรือนำมาปั่นเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ดื่ม
8. เปลือกฝัก และเปลือกเมล็ดใช้ทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปอัดเป็นเชื้อเพลิงแท่งสำหรับหุงหาอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วดาวอินคา  (ถั่วคั่วเกลือ 100 กรัม)

Proximates
พลังงาน กิโลแคลอรี 607
โปรตีน กรัม 32.14
ไขมัน กรัม 46.43
คาร์โบไฮเดรต กรัม 17.86
เส้นใย กรัม 17.9
Minerals
แคลเซียม มิลลิกรัม 143
เหล็ก มิลลิกรัม 2.57
โซเดียม มิลลิกรัม 643
Vitamins
วิตามิน C, (กรมแอสคอบิค) มิลลิกรัม 0
วิตามิน A, IU IU 0
Lipids
กรดไขมัน กรัม  3.57
คอลเลสเตอรอล มิลลิกรัม  0

ที่มา : USDA Nutrient Database

นอกจากนั้น ยังมีรายงานคุณค่าทางโภชนาการอื่นที่ตรวจพบ ได้แก่ Omega-3 fatty acid และ Omega-6 fatty acid ที่ร้อยละ 82 จากเมล็ดถั่วดาวอินคา 100 กรัม และพบโอเมก้า-3 ที่สูงถึง 12.8-16.0 กรัม/ 100 กรัม รวมถึงวิตามิน E ชนิดโทโคเฟอรอล แคโรทีน โพลีฟีนอล ไฟโตสเตอรอล และกรดอะมิโนหลายชนิด ได้แก่ ซิสเตอีน ไทโรซีน ทรีโอนีน ทริปโตฟาน (ที่มา : (1) )

สรรพคุณถั่วดาวอินคา
เมล็ดถั่วดาวอินคานำมาคั่วรับประทานหรือสกัดน้ำมันสำหรับประกอบอาหารหรือรับประทาน ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ซึ่งในเมล็ดมีสรรพคุณหลายด้าน ได้แก่
– ช่วยลดคอเลสเตอรอล
– ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด
– ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
– ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
– ช่วยลดไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
– ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน
– ช่วยลดน้ำหนัก
– ช่วยลดอาการซึมเศร้า
– กระตุ้นความจำ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมอง
– ป้องกันโรคสมองเสื่อม
– เสริมสร้างเซลล์ และรักษาความแข็งแรงของเซลล์
– ป้องกัน และลดการอักเสบของหลอดเลือด
– ป้องกัน และลดอาการของโรคไขข้อ
– รักษาโรคผิวหนัง
– ป้องกัน และบรรเทาโรคหอบหืด
– รักษาโรคไมเกรน
– ป้องกันโรคต้อหิน ต้อกระจก
– ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่ง แลดูอ่อนวัย
– ควบคุมความดันในลูกตา และเส้นเลือด
– กระตุ้น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
– ตำรับยาสมุนไพรของชาวอเมซอนมีการใช้เมล็ดถั่วดาวอินคาเป็นยารักษาโรครูมาตอยด์ และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ใบ และยอดอ่อน (รับประทานหรือชงเป็นชา)
– ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– ป้องกันโรคหลอดเลือด และสมอง
– ป้องกันโรคเบาหวาน

ที่มา : (1), (2)

โอเมก้า-3 ในถั่วดาวอินคา
ถั่วดาวอินคา ถือว่ามีปริมาณโอเมก้า-3 สูง และสูงกว่าธัญพืชหลายชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่เป็นแหล่งโอเมก้า-3 ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีการวิจัยเกี่ยวกับการนำถั่วดาวอินคามาใช้เป็นแหล่งโอเมก้า-3 แทนน้ำมันจากปลาได้หรือไม่

การศึกษาผลของน้ำมันจากถั่วดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือดกับผู้ป่วย 24 คน ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำมันที่สกัดจากถั่วดาวอินคา 5-10 มิลลิลิตร ความเข้มข้นของโอเมก้า-3 ขนาด 2 กรัม/5 ml และอีกกลุ่มรับประทาน กรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลา นาน 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีผลคอเลสเตอรอลทั้งหมด และไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และพบว่าระดับไขมันเอชดีแอล (HDL) เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันที่สกัดได้จากถั่วดาวอินคา มีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายคล้ายกับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลา

ที่มา : (1) อ้างถึงใน Garmendia, Pando & Ronceros, (2011)

ความเป็นพิษ
งานวิจัยเพื่อหาความปลอดภัย และผลข้างเคียงจากการรับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา โดยการทดลอง
ในชาย และหญิงที่มีอายุระหว่าง 25-55 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นชาย 13 คน และเพศหญิง 17 คน แต่ละคนรับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา วันละ 10-15 มิลลิลิตร โดยเปรียบเทียบกับน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันปริมาณเท่ากัน ตอนเช้า นาน 4 เดือน พบว่า การรับประทานน้ำมันทั้ง 2 ชนิด จะเกิดผลข้างเคียงในสัปดาห์ที่ 4 ได้แก่
– อาการคลื่นไส้
– เรอ
– ร้อนวูบวาบ
– ปวดศีรษะ
– ปวดท้อง
– ท้องผูก

ส่วนผลข้างเคียงต่อตับด้วยการวัดค่า Creatinine ไม่พบว่ามีความผิดปกติในทั้ง 2 กลุ่ม

ที่มา : (1) อ้างถึงใน Fontani et al. (2005)

การปลูกถั่วดาวอินคา
ปัจจุบัน การปลูกถั่วดาวอินคานิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ด เพราะสะดวก ง่าย และประหยัดเวลา อีกทั้งสามารถเพิ่มจำนวนกล้าได้อย่างจำนวนมาก แต่ก็ทำได้ด้วยวิธีอื่น อาทิ การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่งเช่นกัน ทั้งนี้ เมล็ดถั่วดาวอินคาที่ใช้เพาะกล้าจะต้องเป็นเมล็ดที่ได้จากฝักที่แก่หรือแห้งเต็มที่แล้ว

การเตรียมวัสดุเพาะ
วัสดุที่ใช้เพาะกล้า ควรเตรียมด้วยการผสมดิน ทราย และปุ๋ยคอกหรือแกลบดำหรือขุ๋ยมะพร้าว อัตราส่วนที่ 1:1:2 ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งการเพาะเมล็ดก่อนในแปลงเพาะหรือบรรจุลงถุงเพาะชำสำหรับเพาะเมล็ดโดยตรง

วิธีเพาะเมล็ด
การเพาะกล้าจากเมล็ดสามารถทำได้ 2 แบบ คือ
1. การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะแล้วย้ายเมล็ดลงเพาะในถุงเพาะชำ
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ทำให้ได้ต้นที่งอกแน่นอน และประหยัดถุงเพาะชำได้ แต่เสียเวลาเพิ่มขึ้น โดยนำวัสดุเพาะเกลี่ยลงแปลงเพาะที่อาจทำด้วยอิฐวางเรียงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 1 เมตร และยาวตามความต้องการ โดยให้วัสดุเพาะสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ก่อนนำเมล็ดปักลงเรียงเป็นแถวให้ชิดกัน ห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากนั้น เกลี่ยหน้าดินให้กลบทับเมล็ดประมาณ 1 เซนติเมตร ก่อนจะรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้น ดูแล และรดน้ำทุกวัน หลังจากเมล็ดงอกให้เห็นยอดกล้า ให้ขุดเมล็ดลงเพาะในถุงเพาะชำต่อ

2. การเพาะเมล็ดลงถุงเพาะชำโดยตรง
เป็นวิธีที่ง่าย และประหยัดเวลาได้มากกว่าวิธีแรก แต่อาจมีบางถุงเพาะชำไม่มีต้นกล้า เพราะบางเมล็ดอาจไม่งอก ซึ่งทำได้โดยนำเมล็ดปักลงในถุงเพาะ และเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย ก่อนรดน้ำให้ชุ่ม

หลังการเพาะในถุงเพาะชำ พร้อมดูแลจนต้นกล้ามีอายุ 30-40 วัน แล้ว หรือต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ทำการย้ายกล้าลงปลูกในแปลงต่อ

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b2

การเตรียมแปลง และหลุมปลูก
สำหรับแปลงปลูก ควรทำการไถพรวนดิน และกำจัดวัชพืชออกให้หมดก่อน จากนั้น ขุดหลุมปลูกเป็นแถวยาว ขนาดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม และแถวที่ 2-4 x 2-4 เมตร ซึ่ง 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 200-400 ต้น จากนั้น ตากหลุมไว้ประมาณ 5-7 วัน

ในระหว่างการตากหลุมให้ทำการปักเสาค้ำยัน สูงประมาณ 2 เมตร พร้อมยึดโครงเสาเป็นด้วยลวดเป็นตาข่ายหรือเป็นแนวตามความยาวแถว ทั้งนี้ การทำค้ำยันอาจทำหลังการปลูกแล้วก็ได้ แต่นิยมทำก่อนปลูก เพราะสามารถค้ำยันต้นหลังปลูกได้พร้อมกัน

วิธีการปลูก
หลังจากที่ตากหลุมไว้แล้ว ให้หว่านโรยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กำมือ/หลุม และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อีก 1 กำมือ/หลุม พร้อมเกลี่ยดินลงคลุกผสมให้เข้ากัน จากนั้น นำต้นกล้าลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินถมโคนต้นให้สูงขึ้นมาเล็กน้อย พร้อมกับใช้เชือกฟางผูกกลางต้นเข้ากับเสาค้ำยันเป็นวงอย่างหลวม แต่ผูกรัดเงื่อนให้แน่น จากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม

การให้น้ำ
การปลูกถั่วดาวอินคา ควรปลูกในต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งจะต้องเตรียมกล้าตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งหลังการปลูก หากฝนทิ้งช่วงจะต้องคอยให้น้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่หลังจากนั้น ปล่อยให้เติบโตจากน้ำฝนตามธรรมชาติ ทั้งนี้ เมื่อถึงหน้าแล้งที่ไม่มีฝนตก ควรให้น้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์

การกำจัดวัชพืช
– หลังจากการปลูกแล้วประมาณ 1-2 เดือน ให้กำจัดวัชพืช 1 ครั้ง
– ในระยะ 1 ปีแรก ให้กำจัดวัชพืชในทุกๆ 3 เดือน
– ในปีที่ 2 ขึ้นไป ให้กำจัดวัชพืชในทุกๆ 2 ครั้ง/ปี

ทั้งนี้ ความถี่ในการกำจัดวัชอาจถี่ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปีแรก และในฤดูฝนที่วัชพืชเติบโตได้เร็ว โดยการกำจัดอาจใช้วิธีไถพรวนช่องว่างแปลงด้วยรถไถ และการถากด้วยจอบ

การใส่ปุ๋ย
– หลังจากการปลูกแล้ว ประมาณเดือนที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กำมือ/ต้น บริเวณโคนต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1 กำมือ/ต้น โดยหว่านให้ห่างโคนต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร
– หลังจากการปลูกแล้วประมาณ 4-5 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยคอกอีกครั้ง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 ในอัตราเดียวกัน ซึ่งเป็นระยะก่อนการติดดอก และผล
– ในระยะ 1 ปีแรก ให้ใส่ปุ๋ย 2-3 ครั้ง คือ หลังปลูก ก่อนออกดอก และหลังเก็บฝัก
– ในระยะปีที่ 2 ขึ้นไป ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในทุกๆปี คือ ระยะก่อนออกดอก สูตร 8-24-24 และหลังเก็บฝัก สูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอกทุกครั้ง

วิธีเก็บฝัก
หลังจากการปลูกแล้วประมาณ 5-6 เดือน ต้นถั่วดาวอินคาจะเริ่มออกดอก และติดฝัก จากนั้น ประมาณอีก 3 เดือน ฝักจะเริ่มแก่พร้อมเก็บ ซึ่งควรเก็บฝักที่สุกเต็มที่แล้ว และกำลังเริ่มแห้ง คือ ฝักที่มีสีดำ และค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b2

ทั้งนี้ เมล็ดถั่วดาวอินคาในช่วงเริ่มแรกที่มีการส่งเสริมให้ปลูกจะมีราคาแพง คือ เมล็ดที่กะเทาะเปลือก ราคาประมาณ 80 บาท/กิโลกรัม และฝักแห้งที่ยังไม่กะเทาะเมล็ดออก ราคาประมาณ 35 บาท/กิโลกรัม (สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559 ที่มา : (2) ) แต่หากมีเกษตรกรปลูกเพิ่มมากขึ้น มักทำให้ราคาลดลง ดังนั้น จึงควรศึกษาราคาในตลาด และแนวโน้มการตลาดในอนาคตเสียก่อน หากต้องการปลูก

ขอบคุณภาพจาก http://farmthai.blogspot.com/, daoinka.com/, www.opsamonpri.com/, http://www.daoinka.com/, http://boontaweee.blogspot.com/http://puechkaset.com/

เอกสารอ้างอิง
(1) ธนกฤต ศิลปะธรากุล. 2558. ประสิทธิผลของอาหารเสริมจากน้ำมันถั่วดาวอินคา-
ในรูปรับประทานต่อการทำงานของสมองด้านสติปัญญา. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
(2) กรมวิชาการเกษตร. ดาวอินคา พืชมหัศจรรย์ สุดยอดโภชนาการ.. เข้าถึงได้ที่ : http://www.doa.go.th

พันธมิตรใหม่ Korea Shipping Partnership

สายการเดินเรือเกาหลีหลายราย คาดรวมตัวกันภายใต้กลุ่มพันธมิตรใหม่ Korea Shipping Partnership

สมาคมเจ้าของเรือเกาหลี (KSA) และสำนักข่าวทางด้านโลจิสติกส์หลายแห่ง ได้รายงานเกี่ยวกับการรวมตัวกันเป็นพันธมิตรระหว่างสายการเดินเรือและเจ้าของเรือขนส่งสินค้าสัญชาติเกาหลีใต้จำนวน 14 ราย

โดยการรวมตัวกันของกลุ่มสายการเดินเรือสัญชาติเกาหลีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการให้บริการในเส้นทาง intra-Asia โดยเบื้องต้นจะใช้ชื่อว่ากลุ่มว่า Korea Shipping Partnership หรือกลุ่มพันธมิตรสายการเดินเรือแห่งเกาหลี ซึ่งบริษัทสมาชิกทั้งหมดมีกำหนดการณ์ในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้ สมาชิกของกลุ่มพันธมิตรสายการเดินเรือและเจ้าของเรือสัญชาติเกาหลีใต้ ทั้ง 14 บริษัท ประกอบด้วย สายการเดินเรือ Hyundai Merchant Marine (HMM), SM Line Corporation, Heung-A Shipping, Sinokor Merchant Marine, CK Line, Korea Marine Transport Co., Ltd (KMTC), Pan Ocean, Pan-Continental Shipping, Namsung Shipping และ Dongjin Shipping

Mr. Kim Young-moo

การเข้ารวมกลุ่มพันธมิตรของสายการเดินเรือและเจ้าของเรือทั้ง 14 ราย ในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากการล้มละลายของสายการเดินเรือ Hanjin Shipping เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อทั้งอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางเรือ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก สายการเดินเรือสัญชาติเกาหลีทั้งหมดจึงตัดสินใจร่วมมือกันเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน โดยการใช้พื้นที่ระวางสินค้าร่วมกัน การปรึกษาหารือกัน และร่วมกันบริหารจัดการเส้นทางเดินเรือ รวมไปถึงการบริหารจัดการสินทรัพย์ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ คาดว่า หลังจากบรรลุข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ปี 2018 ที่จะถึงนี้ สายการเดินเรือสมาชิกทั้งหมดจะยุติการเดินเรือในเส้นทาง intra-Asia ของตนเองทั้งหมด ก่อนที่จะเริ่มให้บริการ intra-Asia ร่วมกันภายใต้กลุ่มความร่วมมือใหม่ต่อไป

รองประธาน สมาคมเจ้าของเรือเกาหลี (KSA) กล่าวว่า “นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ที่ทุกสายการเดินเรือและบริษัทเจ้าของเรือได้ร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ เราวางแผนที่จะต่อยอดการเติบโตและกอบกู้ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของเรา ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล”

การรวมตัวกันของสายเรือ

สืบเนื่องจากแนวโน้มการรวมตัวกันของสายเรือในปัจจุบัน ทั้ง P3 (Maersk, CMA CGM, MSC) G6 (NYK Line, Hapag-Lloyd, OOCL, APL, Hyundai, MOL) และ CKYH (Cosco, K Line, Yang Ming, Hanjin) โดยสายเดินเรืออ้างว่าวัตถุประสงค์ของการรวมตัวก็เพื่อช่วยให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ลดต้นทุนการบริหารจัดการ เกิดการประหยัดต้นทุนต่อหน่วย อีกทั้งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการให้บริการให้แก่ลูกค้า โดยการรวมตัวกันดังกล่าวจะไม่รวมถึงกิจกรรมทางด้านการตลาด การให้บริการ การขาย และอัตราค่าระวาง เพราะถือเป็นความลับและกลยุทธ์ด้านการขายที่แต่ละสายเรือจะกำหนดเอง
ผู้ส่งออกทั่วโลกต่างแสดงความกังวลต่อรูปแบบการรวมตัวของสายเรือทั้งหลายเหล่านี้ ว่าจะเป็นการลดการแข่งขันของสายเรือ เกิดการผูกขาดในการแข่งขัน สายเรือขนาดเล็กต้องออกจากตลาดเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ ความถี่ตารางเรือสำหรับให้บริการมีลดลง และค่าระวางอาจปรับเพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต
จากการพิจารณาของ The U.S. Federal Maritime Commission (FMC) ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 พบว่าเสียงโหวด 4 ต่อ 1 เสียงให้การอนุมัติการรวมตัวกันของ P3 Network ให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีพ.ศ. 2557 แต่การอนุมัติดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าให้ทั้งสามสายเรือดังกล่าวต้องมีการรายงานการดำเนินงานให้ FMC ทราบอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้ Monitoring Program/Conditions เพื่อให้ FMC สามารถเข้าไปดูแลจัดการการรวมตัวกันดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และควบคุมให้การดำเนินการอยู่ภายใต้กรอบการแข่งขันในตลาดอย่างเหมาะสม โดยหากทั้ง 3 สายเรือมีการยกเลิกตารางให้บริการเดินเรือ หรือปรับการให้บริการอื่นๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณระวางเรือที่ให้บริการในแต่ละสัปดาห์ จะต้องมีการแจ้งให้ FMC รับทราบทันที นอกจากนี้เพื่อให้การรวมตัวกันดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานภายนอกหรือบุคคลที่สาม (Third Party) การเจรจาต่อรองติดต่อ หรือทำสัญญากับ Third Party เหล่านั้น จะต้องทำโดยอิสระในแต่ละสายเรือ แยกออกจากกัน
เช่นเดียวกับการอนุมัติให้สามารถรวมตัวกันได้ของสหภาพยุโรปก่อนหน้านี้ เนื่องจาก P3 มิได้ถูกมองว่าเป็นการควบควมกิจการ (Merger) เป็นเพียงการรวมตัวกันในด้านการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน ดังนั้นจึงสามารถมีผลบังคับใช้ได้ทันที เพียงแต่มีเงื่อนไขขอให้แก้ไขในรายละเอียดบางส่วน เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเกินกว่าร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามหากพบว่าการรวมตัวกันดังกล่าวละเมิดตามมาตรา 101 ของ The Treaty on the Functioning of the EU ผู้ควบคุมกฎหรือผู้มีอำนาจของสหภาพยุโรปสามารถเลิกล้มการอนุญาตรวมตัวกันของสายเรือดังกล่าวได้

สำหรับในประเทศจีนที่ต่อต้านการรวมตัวกันในรูปแบบ P3 Network เนื่องจากจะเป็นการทำลายความสามารถในการแข่งขันของสายเรือสัญชาติจีน อย่างเช่น Cosco หรือ China Shipping แต่ล่าสุดพบว่ามีความพยายามกดดันโดยรัฐบาลกลางของประเทศจีน ให้สายเรือสัญชาติจีนทั้ง 2 ขยายความร่วมมือกับสายเรืออื่นๆ เพื่อให้เป็นสายเรือที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดในสภาวะปัจจุบันเช่นเดียวกัน
The Global Shippers’ Forum (GSF) ให้ความคิดเห็นว่าการบังคับใช้ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน (Competition Law) ของสหภาพยุโรปไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเฉพาะในกลุ่มสายเรือคอนเทนเนอร์ เนื่องจากสายเรือมีอิสระ ได้รับการยกเว้นเหนือกฎหมายการแข่งขันของสหภาพยุโรป ซึ่งสายเรือที่รวมตัวดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ไม่เพียงแค่การให้บริการในเส้นทางยุโรป แต่ยังรวมถึงการให้บริการในภูมิภาคที่เป็นคู่ค้ากับสหภาพยุโรปอีกด้วย โดยเฉพาะเส้นทาง Asia-Europe และ Trans-Atlantic ที่ทั้ง 3 สายเรือในกลุ่ม P3 ครองส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 42 ในทั้งสองเส้นทาง
สำหรับการรวมตัวกันของสายเรือ 6 สาย ภายใต้ชื่อ G6 ประกอบไปด้วย NYK Line, Hapag-Lloyd, OOCL, APL, Hyundai และ MOL ล่าสุดพบว่าการรวมตัวกันดังกล่าวผ่านการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์โดย FMC ในสหรัฐอเมริกาแล้ว เนื่องจากพิสูจน์ด้วยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis) แล้วว่ามิได้ส่งผลต่อการลดระดับการแข่งขัน ลดคุณภาพการให้บริการ หรือเพิ่มต้นทุนการขนส่งสินค้า อีกทั้งในแง่ของกฎหมายการรวมตัวกันดังกล่าวก็มิได้ฝ่าฝืน US Shipping Act ของสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด ซึ่งจากการอนุมัติของ FMC ส่งผลให้สายเรือในกลุ่ม G6 สามารถพัฒนาความมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนและการใช้พลังงาน รวมทั้งเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในแง่การลดการการปล่อยของเสียลงได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้การรวมตัวกันของ G6 จะได้รับการอนุมัติ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ FMC อย่างใกล้ชิดให้อยู่ภายใต้กรอบการแข่งขันที่เหมาะสมเช่นเดียวกับ P3


นอกจากนี้ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ยังเกิดการควบรวมกิจการ (Merger) ระหว่าง Hapag-Lloyd ของเยอรมนี (ร้อยละ 70) และ Compania Sud-Americana Vapores: CSAV ของชิลี (ร้อยละ 30) ซึ่งการรวมตัวกันดังกล่าวจะทำให้ HL-CSAV เป็นสายเรือที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีระวางเรือกว่า 1 ล้าน TEU ครองส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 25 ในเส้นทาง Trans-Atlantic ร้อยละ 12 ในตลาดทวีปอเมริกาใต้ ร้อยละ 7 สำหรับเส้นทาง Trans-Pacific และร้อยละ 4 สำหรับเส้นทาง Asia-Europe อย่างไรก็ตามมีผู้ให้ข้อเสนอว่า HL-CSAV มิได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของส่วนแบ่งการตลาด และลดระดับการแข่งขันในตลาด เนื่องจากทั้ง 2 สายเรืออยู่ใน 5 อันดับแรกของเส้นทางดังกล่าวอยู่แล้ว แต่มีการคาดว่าการควบรวมกิจการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการแข่งขันกับการรวมตัวกันในอุตสาหกรรมสายเรือคอนเทนเนอร์ในปัจจุบัน อาทิเช่น P3 G6 และ CKYH ได้มากยิ่งขึ้น

One Belt One Road

การขุดคอคอดกระเป็นทางลัดในการเดินทะเล เกือบจะกลายเป็นตำนานที่ไม่มีวันเป็นจริงได้สำหรับเมืองไทย แต่ล่าสุดมีการประเมินกันว่าคลองกระอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมกะโปรเจ็ค เส้นทางสายไหมใหม่ทางทะเลของจีน

The Diplomat เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศระดับโลก เผยแพร่บทความที่กล่าวถึงประเด็นการขุดคอคอดกระ หรือ “คลองกระ” ซึ่งเดิมเคยมีความพยายามมาอย่างยาวนานที่จะขุดคลองลัดระหว่างทะเลอันดามัน กับอ่าวไทย เพื่อร่นระยะเวลาการเดินเรืออย่างมหาศาล แต่กลับไม่เคยมีใครทำสำเร็จ ตั้งแต่รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย เจ้าอาณานิคมอังกฤษ มาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน แต่ล่าสุด มีแนวโน้มสูงว่าโครงการนี้จะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมกะโปรเจ็คแห่งศตวรรษของจีน นั่นก็คือเส้นทางสายไหมใหม่

รู้จักเส้นทางสายไหมตามที่จีนวางแผนไว้ เส้นทางสายไหมจะแบ่งเป็น 2 สาย คือทางบก เป็นเส้นทางถนนและรถไฟจากภาคตะวันตกของจีน ตัดผ่านไปยังเอเชียกลาง สู่ยุโรป และเส้นทางสายไหมทางทะเล จากภาคตะวันออกของจีนลงใต้ผ่านอาเซียน ไปยังแอฟริกา ตะวันออกกลาง และวกขึ้นยุโรป ทำให้จีนเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมต่อเศรษฐกิจโลก

จากแผนที่นี้ จีนจะได้ประโยชน์อย่างมากหากสามารถผลักดันคลองกระให้สำเร็จได้ เนื่องจากแทนที่จะต้องเดินเรืออ้อมไปผ่านช่องแคบมะละกาที่อากาศแปรปรวนและมีโจรสลัดชุกชุม ก็สามารถตัดตรงผ่านคลองกระไปยังทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียได้เลย

แม้รัฐบาลจีนจะไม่เคยยอมรับว่ากำลังผลักดันโครงการนี้อย่างเป็นทางการ แต่ The Diplomat รายงานว่าไทยและจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MoU ในโครงการนี้ที่นครกวางโจวตั้งแต่ปี 2015 แต่ไทยก็พยายามหาเงินทุนจากหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และประเทศอื่นๆในอาเซียน และนับตั้งแต่ปี2017 สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน หรือ TCCEA และสมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ หรือ EABC ได้มีการจัดประชุมหารือเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการคลองกระ หรือคลองไทย และมีการประชุมล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่สมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา ซึ่งเป็นกลุ่มทหารระดับสูงที่สนับสนุนการขุดคลองกระ ก็ผลักดันโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง

มีการประเมินกันว่าโครงการคลองกระจะใช้งบประมาณราว 28,000 ล้านดอลาร์ หรือ 868,000 ล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างนาน 10 ปี โดยทางการจีนยินดีให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีแก่ไทย เพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ

โคลงการคลองไทยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนคลองที่เชื่อมต่อทะเลจีนใต้เข้ากับมหาสมุทรอินเดียโดยไม่ต้องผ่านเส้นทางเดินเรือที่คับคั่งที่สุดในโลกอย่างช่องแคบมะละกา ทำให้น้ำมันที่จะส่งเข้าไปในจีนกว่าร้อยละ 80 ซึ่งขนส่งผ่านช่องแคบดังกล่าว ใช้เวลาเดินทางน้อยลง หมายถึงต้นทุนที่ถูกลง ส่วนที่ 2 คือส่วนของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ประกอบด้วยเมืองและเกาะเทียมรายล้อมคลองไทย กลายเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง และเชื่อมโยงไทยเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคอีกหลายประการที่อาจทำให้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เช่นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจีนประเมินว่าโครงการนี้จะใหญ่โตไม่ต่างจากการสร้างเขื่อนสามผาในจีน ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านความมั่นคง ที่เป็นปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้การขุดคลองกระไม่เคยประสบความสำเร็จ เพราะเกรงว่าจะยิ่งสร้างความแตกแยกในจังหวัดภาคใต้ เพราะคลองนี้จะเปรียบเสมือนการแบ่งพื้นที่ระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมในภาคใต้

สหรัฐห้ามนำเข้าสินค้าจากไทย 13 รายการ

สหรัฐห้ามนำเข้าสินค้าจากไทย 13 รายการในเดือนมิถุนายนทั้งมะขาม-มะขามแห้ง-ปลาทูน่า-กะทิ-มะพร้าว-น้ำพริก-ครีมบำรุงผิวหน้า-เข็มฉีดยา-ข้าวโพด-ยา-ใบชา-เครื่องสำอาง-อาหารสัตว์ จากผู้ประกอบการ 27 ราย อ่านรายละเอียดวิธีการตรวจสอบสินค้านำเข้าจาก 3 หน่วยงานสหรัฐ

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2559 รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้เผยแพร่รายงานเรื่องการปฏิเสธการนำเข้า (Import Refusal Report) สินค้าจากไทยในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 พบว่ามีสินค้าไม่ได้มาตรฐานและไม่เป็นไปตามข้อตกลงจำนวน 13 รายการ

เอฟดีเอตรวจสอบพบ 37 ครั้ง เพิ่มขึ้น 54.17% เมื่อเทียบกับการตรวจพบในเดือนพฤษภาคม 2559 ที่มีสินค้าจากไทยไม่ได้มาตรฐาน 13 ครั้ง และได้ประกาศปฏิเสธการนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากผู้ประกอบการไทยรวม 27 ราย เพิ่มขึ้น 51.85% เทียบกับ ผู้ประกอบการไทยที่ถูกปฏิเสธในเดือนพฤษภาคม 2559 จำนวน 14 ราย

สำหรับสินค้าที่ตรวจพบว่าไม่ได้มาตรฐานและไม่เป็นไปตามข้อตกลง 13 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค ได้แก่

1.มะขาม ถูกตรวจพบว่ามีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรก เน่าเสีย ไม่เหมาะจะเป็นอาหารเพื่อการบริโภค

2.มะขามแห้ง ถูกตรวจพบว่ามีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกเจือปน เน่าเสีย ไม่ติดฉลากข้อมูลที่ชัดเจนให้แก่ผู้บริโภคและไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ

3.ปลาทูน่า ถูกตรวจพบว่ามีฝุ่นละอองหรือสิ่งเจือปน เน่าเสีย ไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารเพื่อบริโภค

4.กะทิ ถูกตรวจพบว่ามีฝุ่นละอองมีสิ่งเจือปน เน่าเสีย โดยสินค้าถูกผลิต แปรรูป หรือบรรจุหีบห่อภายใต้สภาวะที่ไม่ถูกสุขอนามัย อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ติดฉลากโภชนาการที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ

5.มะพร้าว เป็นสินค้าถูกผลิต แปรรูป หรือบรรจุหีบห่อภายใต้สภาวะที่ไม่ถูกสุขอนามัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

6.น้ำพริก เป็นสินค้ามีสารตกค้างปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ

7.ครีมบำรุงผิวหน้า ติดฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของเครื่องสำอาง

8.เข็มฉีดยา ฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับ

9.ข้าวโพด ถูกผลิต แปรรูป หรือบรรจุหีบห่อภายใต้สภาวะไม่ถูกสุขอนามัย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

10.ยา ฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของกฎหมาย Food Drug and Cosmetic Act โดยกระบวนการผลิต การเตรียม การประกอบ การเพิ่มปริมาณของผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ไม่ปรากฏชื่อยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายการสินค้าภายใต้กฎระเบียบดังกล่าวและไม่ได้ขึ้นทะเบียนยาใหม่ ฉลากผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษที่ครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบ  

11.ใบชา ฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของกฎหมาย Food Drug and Cosmetic Act และฉลากผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษที่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎระเบียบ

12.เครื่องสำอาง ฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับ

13.อาหารสัตว์ สินค้าถูกผลิต แปรรูป หรือบรรจุหีบห่อภายใต้สภาวะที่ไม่ถูกสุขอนามัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ อยากเตือนผู้ประกอบการไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังใน การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามข้อบังคับการนำ เข้าสินค้าของสหรัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะสามารถส่งออกไปยังสหรัฐได้อย่างราบรื่น ไม่ถูกปฏิเสธการนำเข้าสินค้า และ จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการส่งออกไทยด้วย เพราะสหรัฐมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อดูแลความปลอดภัย ของผู้บริโภค หากสินค้าไทยผลิตได้ตามมาตรฐาน จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์สินค้าไทยในภาพรวมอีกทาง.

ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยสินค้าอาหารของสหรัฐฯ

หน่วยงานสหรัฐฯ ที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารสหรัฐฯมีหน่วยงานในระดับรัฐบาลกลางที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องความปอลดภัยของอาหารและส่วนผสมอาหารอยู่ 3 หน่วยงานหลักด้วยกันคือ

1. Food Safety and Inspection Service (FSIS) ขึ้นตรงกับกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agricultural-USDA) ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากไข่ ที่ผลิตในประเทศสหรัฐฯและที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ยกเว้นเนื้อสัตว์ป่า (game) และเนื้อสัตว์หายาก (exotic meats — เช่น เนื้อจิงโจ้ เนื้อนกกระทา และเป็ด)

2. Food and Drug Administration (FDA) ขึ้นตรงกับหน่วยงาน Department of Health and Human Services (DHHS) ดูแลสินค้าอาหารที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯรวมถึงสินค้าเนื้อสัตว์ป่าและเนื้อสัตว์หายาก ส่วนผสมอาหาร อาหารสัตว์ ยาสำหรับสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีกเฉพาะที่มีส่วนผสมเนื้อสัตว์ดังกล่าวที่ทำให้สุกแล้วในปริมาตรไม่เกินร้อยละ 2 หรือที่เป็นเนื้อสัตว์ดิบในปริมาตรที่ไม่เกินร้อยละ 3 ของปริมาตรรวมทั้งสิ้นของสินค้า และเฉพาะที่มาจากแหล่งผลิตที่ USFDA ให้การรับรองแล้วเท่านั้น

3. Environmental Protection Agency (EPA) ออกใบอนุญาตให้แก่ผลิตภัณฑ์สินค้ายาฆ่าแมลงและกำหนดปริมาณสูงสุดของยาฆ่าแมลงที่ยอมให้มีตกค้างในอาหารและอาหารสัตว์ (เป็นหน้าที่ของ FDA และ FSIS ที่จะบังคับควบคุมดูแลสินค้าที่ตนรับผิดชอบให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EPA ในเรื่องปริมาณสูงสุดของยาฆ่าแมลงที่ยอมให้ตกค้างในอาหารและอาหารสัตว์ได้นี้)

นอกจากนี้ EPA ยังทำหน้าที่บริหารโปรแกรมต่างๆที่เป็นเรื่องกฎระเบียบ และการวิจัยสารเคมีที่เป็นพิษที่เกิดขึ้นในน้ำและอาหาร

การดำเนินงานของทั้งสามหน่วยงานรัฐบาลกลางข้างต้นได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆในระดับมลรัฐและท้องถิ่น

แม้ว่าจะมีการแบ่งแยกประเภทสินค้าภายใต้การดูแลของแต่ละหน่วยงาน แต่ในทางปฏิบัติแล้วหน่วยงาน ทั้งสามหน่วยงานจะรับผิดชอบร่วมกันในการควบคุมดูแลสินค้าอาหารบางกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น สินค้าผักและผลไม้ หน่วยงาน USDA และ EPA จะรับผิดชอบเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับยาฆ่าแมลงในขณะที่ USFDA จะรับผิดชอบในเรื่องการตรวจสอบการนำเข้า

วิธีพิจารณาออกคำสั่งการห้ามนำเข้า (import refusal) สินค้าอาหารของ USFDA

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการส่งสินค้าอาหารเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯคือการตรวจสินค้าของ USFDA ที่ด่านนำเข้าและการถูก USFDA ออกคำสั่งห้ามนำเข้าสหรัฐฯ ในปี 2008 หน่วยงาน Economic Research Service (ERS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้ทำการศึกษาวิธีปฏิบัติของ USFDA ในเรื่องของการตรวจสินค้าและการออกคำสั่งห้ามนำเข้า (import refusal) โดยใช้ข้อมูลการสั่งห้ามนำเข้าของ USFDA ในระหว่างปี 1998 — 2004 เป็นพื้นฐานในการศึกษาและได้จัดทำรายงานเรื่อง Food Safety and Imports — An Analysis of FDA

Food-Related Import Refusal Reports ออกเผยแพร่ จากรายงานดังกล่าวทำให้สามารถมองเห็นภาพการทำงานของ USFDA ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้

1. การตรวจสินค้านำเข้าของ USFDA ไม่ได้เป็นการ สุ่มตรวจ-random”ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่เป็นการเลือกตรวจโดยอยู่บนพื้นฐานของปัญหาความปลอดภัยของอาหารที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในระบบการค้าของสหรัฐฯและพิจารณาเงื่อนไขต่างๆที่เป็นความเสี่ยง การตัดสินว่าจะตรวจการจัดส่งสินค้านำเข้ารายการใดกระทำจากศึกษาข้อมูลสินค้า ข้อมูลโรงงานผลิตที่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนกฎระเบียบการนำเข้าของสหรัฐฯ

2. สินค้าที่ถูกคำสั่งห้ามนำเข้าสหรัฐฯไม่ได้หมายความว่าเป็นสินค้าที่มีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนเสมอไป กฎหมายสหรัฐฯระบุให้อำนาจ USFDA ที่จะสั่งห้ามการนำเข้าในกรณีที่ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าสินค้าดังกล่าว ดูเหมือนว่า (“have an appearance”)” จะมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของ USFDA กฎหมายสหรัฐฯกำหนดไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าได้มีการฝ่าฝืนกฎระเบียบเกิดขึ้นจริง USFDA มีอำนาจสั่งห้ามนำเข้าได้ ถ้า USFDA สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีเหตุผลพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าสินค้านั้นๆ ดูเหมือนว่า” จะมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯ

สิ่งที่จะพิสูจน์ว่า ดูเหมือนว่า” จะมีการฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯอาจจะเป็นโดยการตรวจตัวอย่างสินค้า การตรวจที่เป็นภาคสนาม การทบทวนเอกสารนำเข้า หรือพิจารณาจากประวัติของการฝ่าฝืนที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นจากผู้จัดส่งสินค้าคนเดียวกัน

3. ส่วนใหญ่ของการปฏิเสธการนำเข้าโดย USFDA เป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศ USFDA Import Alert เจ้าหน้าที่ USFDA จะใช้ import alert เป็นแนวทางในการตรวจสอบสินค้าและออกคำสั่ง ห้ามการนำเข้า import alert อาจจะมาในลักษณะต่างๆดังนี้

(ก) อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การระบุและการแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแนวโน้มและปัญหาต่างๆของการฝ่าฝืนที่เกิดขึ้นในขณะนั้นให้แก่เจ้าหน้าที่ USFDA ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ทราบ

(ข) การเฝ้าสอดส่องสังเกตการณ์เฉพาะตัวสินค้าจากเฉพาะประเทศ

(ค) การออกประกาศ “Detention without physical examination” แม้ว่าจากการศึกษของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯจะค้นพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าที่ถูก import alert มากที่สุดในปี 2007 เป็นกลุ่มเดียวกับสินค้าที่ถูกสั่งห้ามนำเข้ามากที่สุดในระหว่างปี 1998-2004 แต่ผู้ทำการศึกษาก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสินค้าค้าที่ถูก import alert เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อมูลการปฏิเสธการนำเข้าในอดีตของ USFDA

4. ประเภทของสินค้านำเข้าที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายของ USFDA มากที่สุดและถูกปฎิเสธการนำเข้ามากที่สุดด้วย เรียงตามลำดับคือ

(ก) ผักและผลิตภัณฑ์จากผัก เหตุผลที่ถูกนำมาใช้อ้างในการห้ามนำเข้ามากที่สุดคือเรื่องสารตกค้างที่ไม่ปลอดภัยที่เป็นยาฆ่าแมลง เหตุผลอื่นๆที่ถูกนำมาใช้เช่นการตกค้างของสารเคมีที่เป็นสารเคมีที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนในสหรัฐฯ หรือระดับสารเคมีตกค้างเกินกำหนดที่ EPAระบุไว้

(ข) ผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเล เหตุผลที่ถูกนำมาใช้ในการห้ามนำเข้ามากที่สุดคือ “filthy”

(ค) ผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้ เหตุผลที่ถูกนำมาใช้ในการห้ามนำเข้ามากที่สุดคือ “filthy” เช่นกัน

(ง) เหตุผลที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดสำหรับกลุ่มสินค้าอื่นๆ เช่นกลุ่มสินค้า เหตุผลที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการปฏิเสธการนำเข้า

ขนม (candy)           Unsafe Color

เครื่องเทศ รสอาหาร และ เกลือ       Salmonella

ของว่าง (snack)      Unsafe Color

เครื่องดื่ม                 Unsafe Color

ธัญญพืช/แป้งจากธัญญพืช       Filthy

เครื่องปรุงรสอาหาร (condiments)   Did not file scheduled process

ชาและกาแฟ      Label not in English

น้ำมันพืช             Inadequate nutrition label

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์   Inadequate labeling

อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน        Manufacturer not properly registered

5. เหตุผลสำคัญที่เกิดขึ้นซ้ำๆบ่อยครั้งมากที่สุดและที่นำไปสู่การถูกปฏิเสธการนำเข้าสหรัฐฯ คือ

(ก) ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ผลไม้ — เหตุผลเรื่องสุขลักษณะในการผลิต

(ข) ผักและผลิตภัณฑ์จากผัก — เหตุผลเรื่องยาฆ่าแมลง

(ค) ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง — เหตุผลเรื่องการไม่จดทะเบียนขบวนการผลิต

6. การฝ่าฝืนที่เกิดมากที่สุดแยกออกได้เป็นสองลักษณะใหญ่ๆ คือ

(ก) การเจือปนสกปรก (adulteration) ตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงต่อสุขภาพผู้บริโภค การเจือปนสกปรกรวมถึงปัญหาเรื่องความปลอดภัย สุขลักษณะ และความสมบูรณ์ของ บรรจุภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์รั่ว หรือ กระป๋องบวมซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีการเติบโตของเชื้อโรคหรือจุลลินทรีย์ในสินค้านั้นๆ จากการศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯพบว่า การเจือปนสกปรกที่พบบ่อยครั้งมากที่สุดเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะคือ

(1) สิ่งสกปรก (filthy) ในสินค้าอาหาร — ดูข้อ 7

(2) การไม่แจ้งข้อมูลหรือจดทะเบียนขบวนการผลิต- No Process- ของโรงงานผลิตสินค้าอาหารกระป๋องที่เป็น low-acid หรือ acidified food

(3) ไม่มี FCE No. เพราะโรงงาน ผลิตไม่ได้ทำการจดทะเบียนโรงงานผลิตอาหารกระป๋องที่เป็น low-acid หรือacidified (Food Canning Establishment) การฝ่าฝืนในข้อนี้ USFDA ถือว่าเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าเกิดการเจือปนสกปรกในขบวนการผลิต

(ข) การปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้อง (misbranding)รวมถึงการปิดสินค้าที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือการระบุข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ไม่มีฉลากหรือปิดฉลากไม่เหมาะสม การฝ่าฝืนในข้อนี้ USFDA ถือว่าเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่ามีขบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เกินกว่าครึ่งหนึ่งของการปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้องเป็นการฝ่าฝืนใน 3 ลักษณะคือ

(1) การไม่ระบุข้อมูลคุณค่าทางอาหาร-nutritional information

(2) ไม่ระบุชื่อสามัญของส่วนผสมแต่ละตัว — list ingredients

(3) ไม่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ-No English

ผลไม้และผลิตภัณฑ์สินค้าผลไม้เป็นกลุ่มสินค้าที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบเรื่องการปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้องมากที่สุด เช่น สินค้ามะขามเปียกที่ไม่ปิดฉลากคุณค่าทางอาหาร หรือสินค้าที่มีส่วนผสมของ saccharin แต่ไม่มีข้อความเตือนผู้บริโภคบนฉลากสินค้า

7. สิ่งเจือปนสกปรกที่พบมากที่สุดคือ

(ก) สิ่งเจือปนสกปรกที่เป็นเชื้อโรค/จุลินทรีย์ พบมากที่สุดในผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเลซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการฝ่าฝืนมากที่สุดในเรื่องนี้ เชื้อโรคที่พบมากที่สุดคือเชื้ออหิวาห์ (salmonella) รองลงมา คือเชื้อ Listeria

(ข) สิ่งเจือปนสกปรกที่เป็นสารเคมี พบมากที่สุดในผัก และผลิตภัณฑ์ผัก สารเคมีที่ฝ่าฝืนที่พบมากที่สุดคือสีผสมอาหาร

(ค) สิ่งเจือปนสกปรกที่เป็นสิ่งสกปรก (filthy) ต่างๆเช่น เปลือก ขี้แมลง ซากสัตว์ตาย ฯลฯ

8. USFDA จะทำรายงานสำหรับแต่ละตัวสินค้าที่ถูกห้ามนำเข้า สินค้าที่ถูกห้ามนำเข้ารายการหนึ่งอาจจะมีรายงานของ USFDA กำกับมากกว่าหนึ่งรายงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการฝ่าฝืนที่ถูกค้นพบ แต่ในรายงานจะไม่ระบุว่าการฝ่าฝืนรายการใดเป็นการฝ่าฝืนที่รุนแรงที่สุดและเป็นจุดที่ทำให้สินค้าถูกสั่งห้ามนำเข้า ในรายงานการห้ามนำเข้า USFDA จะระบุหมายเลขการนำเข้า (entry no.) ประเทศแหล่งกำเนิดของผู้จัดส่งสินค้าและโรงงานผลิต ระหัสอุตสาหกรรม คำบรรบายระหัสสินค้า คำบรรยายสินค้าที่เป็นของผู้นำเข้าจัดทำ การระบุผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ระหัสการฝ่าฝืน และคำอธิบายการฝ่าฝืน

ขั้นตอนการปฏิบัติหลังจากที่ USFDA ค้นพบว่าการนำเข้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯ ในกรณีที่สินค้าถูก USFDA ต้องสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯ การดำเนินการในขั้นต่อไปจะเป็นดังนี้คือ

1. USFDA ส่ง Notice of Detention and Hearing ที่ระบุข้อกล่าวหาลักษณะของการฝ่าฝืนและแจ้งสถานที่ที่เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจะไปรับฟังและแก้ข้อกล่าวหาภายใน 10 วันทำการ (สามารถต่อรองขอยืดเวลาได้ถ้าจำเป็น) สำเนา notice จะถูกส่งให้แก่ศุลกากรสหรัฐฯทราบ

2. การตอบสนองต่อเอกสาร Notice of Detention and Hearing เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจะไปรับฟังและแก้ข้อกล่าวหา การไปพบกับเจ้าหน้าที่ของ USFDA ในขั้นตอนนี้จะเป็นในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ เจ้าหน้าที่จะเปิดโอกาสให้เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนอธิบายหรือยื่นเอกสารสนับสนุนว่าสินค้าดังกล่าวสามารถนำเข้าสหรัฐฯได้ หรือร้องขอที่จะปฏิเสธการนำเข้า หรือเสนอการแก้ไขสินค้าที่เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผล หรือเสนอวิธีการที่จะเคลื่อนย้ายสินค้าออกไปจาก USFDA

3. ในกรณีที่เจ้าของสินค้าต้องการแก้ไขสินค้า

3.1 ยื่นแบบฟอร์ม “Application for Authorization to Relabel or to Perform Other Action)” ต่อ USFDA

3.2 USFDA จะพิจารณาคำร้องและจะแจ้งให้ทราบว่าอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

3.3 ในกรณีที่ USFDA ยินยอมให้แก้ไขสินค้า จะแจ้งแนวทางการแก้ไขสินค้าและกำหนดเวลาในการแก้ไขให้เจ้าของสินค้าได้ทราบ

(ก) เมื่อแก้ไขสินค้าเสร็จแล้ว เจ้าของสินค้าจะต้องยื่นแบบฟอร์ม “Importer’s Certificate” หรือแจ้งให้ USFDA ทราบว่าได้ทำการแก้ไขสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว การแก้ไขควรกระทำเพียงครั้งเดียว หากการแก้ไขในครั้งแรกยังคงไม่ช่วยให้สินค้าผ่านเข้าสหรัฐฯ โอกาสข้อแก้ไขในครั้งที่สองเกิดขึ้นได้ยากมากนอกเสียจากว่าการแก้ไขครั้งที่สองจะต้องกระทำด้วยวิธีที่แตกต่างจากครั้งแรกและจะต้องแสดงให้ USFDA มั่นใจว่าวิธีการแก้ไขในครั้งที่สองนี้จะประสบผลสำเร็จ

(ข) USFDA หรือศุลกากรสหรัฐฯจะทำการตรวจสินค้าอีกครั้งหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่าง USFDA และศุลกากรสหรัฐฯแล้วทำ “Report of Inspector” ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ USFDA ที่เกี่ยวข้อง ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะยอมรับข้อมูลการแก้ไขสินค้าที่เจ้าของสินค้าแจ้งไปและไม่ตรวจสินค้าเลยก็ได้

(ค) ถ้าการแก้ไขสินค้าได้รับการยอมรับ เจ้าหน้าที่จะออก Notice of Release ให้ซึ่งเป็นเอกสารที่เรียกว่า “Originally Detained and Now Released”

(ง) ในกรณีที่การแก้ไขสินค้าไม่ได้รับการยอมรับ เจ้าหน้าที่จะออกเอกสาร Notice of Refusal of Admission สินค้าดังกล่าวจะถูกสั่งทำลายหรือสั่งให้ส่งกลับออกไปภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ USFDA หรือศุลกากรสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่าง USFDA และศุลกากรสหรัฐฯ การส่งสินค้ากลับออกไปอยู่ภายใต้ การควบคุมดูแลของศุลกากรสหรัฐฯแต่เพียงหน่วยงานเดียว ในบางกรณีสินค้าจะถูกคำสั่งให้ทำลายแต่เพียงสถานเดียว การดำเนินการในขั้นนี้จะต้องกระทำภายใน 90 วันหลังจากได้รับคำสั่ง

(จ) ผลการดำเนินงานตามคำสั่งในข้อ (ง) จะต้องแจ้งให้ USFDA ทราบ หาก USFDA ไม่ได้รับรายงานในเรื่องนี้จะทำการสอบสวนข้อเท็จจริงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในกรณีที่สินค้าเกิดปัญหาที่ด่านนำเข้าและจำเป็นต้องแก้ไข จะเกิดค่าใช้จ่ายที่เจ้าของสินค้าจะต้องจ่ายชำระให้แก่เจ้าหน้าที USFDA การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจะกระทำหลังจากที่มีการตัดสินเป็นที่สิ้นสุดแล้วว่า ไม่ว่าสินค้าได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าสหรัฐฯหรือไม่ก็ตามก็จะต้องเสียค่าใช้จ่าย

การคำนวนค่าใช้จ่าย USFDA จะคำนวนจาก

1. เวลาของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสินค้า

2. เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์สินค้า

3. เบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ (per diem)

4. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ไม่ใช่โดยรถยนต์ ตามจ่ายจริง

5. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถยนต์ (จำนวนไมล์ ค่าทางด่วน ฯลฯ)

6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆในสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้

7. ค่าใช้จ่ายในการเข้าไปควบคุมดูแลการทำลายหรือการส่งออกสินค้า ถ้ามี USFDA จะส่งจำนวนเงินค่าใช้จ่ายให้ศุลกากรสหรัฐฯทำหน้าที่เรียกเก็บเงินUSFDA จะไม่เก็บเงินด้วยตนเอง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: http://www.depthai.go.th

บริการรับจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางทะเล

เราให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศครบวงจรทั้งทางอากาศและทางทะเล ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจของเราซึ่งมีอยู่ 175 ประเทศทั่วโลกกว่า 4,000 บริษัท เราจึงสามารถวางแผนและหาทางออกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อตอบสนองทุกความต้องการในการขนส่งสินค้าของคุณ

 

ปัจจุบัน การนำเข้าและส่งออกสินค้า หรือ การค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวมากขึ้นตามความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้ามีขั้นตอนที่ค่อนข้างละเอียด ทั้งในแง่ของกฎหมาย ภาษี และเอกสารต่างๆ ซึ่งหากทำไม่ถูกต้อง หรือประเมินค่าใช้จ่ายไม่ครบถ้วน จะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านต้นทุน หรือปัญหาอื่นๆได้

ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเข้า- ส่งออกสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจการลงทุน

 

ทาง บริษัท ไทยโกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด หรือ ThaiGlobal Logistics Co., Ltd. ยินดีให้คำปรึกษา และให้การบริการกับลูกค้าดังต่อไปนี้

  • ให้คำปรึกษาด้านพิธีการศุลกากรทางเรือ ทั้งแบบเต็มตู้ และไม่เต็มตู้ (FCL,LCL) พิธีการศุลกากรทางอากาศ และรถข้ามแดน โดยผู้ชำนาญการศุลกากร
  • บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้ง ทางอากาศ ทางเรือ และรถข้ามแดน เรามีตัวแทนเครือข่ายเอเจ้นท์มากกว่า 175 ประเทศทั่วโลก (Global Network).
  • บริการรถขนส่งสินค้าทั่วประเทศไทย เรามีรถร่วมวิ่งไว้รอให้บริการมากกว่า 300 คัน ทั้ง 4ล้อ, 6ล้อ,10ล้อ และรถหัวลากห่างโลเบท พื้นเรียบ ก้างปลา และตู้เย็น.
  • บริการแพคกิ้งสินค้าทุกประเภทเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการส่งออก
  • บริการคลังสินค้าและโกดังขนาดเล็กให้เช่าแบบตู้คอนเทนเนอร์20′,40’และคลังสินค้าห้องเย็น

 

ขั้นตอนการประเมินค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทั้งขาเข้า และขาออก ทางเราจำเป็นต้องรบกวนให้ลูกค้าส่งข้อมูลให้ทางเราดังนี้ครับ

 

#การขนส่งสินค้าขาเข้า#

 

ที่อยู่ต้นทางของสินค้า หรือเมืองท่าต้นทาง เพื่อใช้ประเมินค่าระวางเรือข้อมูลสินค้า เช่น รูปภาพ จำนวน ขนาด น้ำหนักของกล่อง มูลค่าสินค้า หรืออินวอย (ถ้ามี) เพื่อใช้ประเมินค่าระวางเรือ ตรวจสอบภาษีขาเข้า และค่าใช้จ่ายอืนๆที่อยู่ส่งสินค้าในประเทศไทย เพื่อประเมินค่าขนส่งจากท่าเรือไปยังที่อยู่ของลูกค้า

 

#การขนส่งสินค้าขาออก#

 

ที่อยู่ต้นทางของสินค้า เพื่อประเมินค่ารถที่จะไปรับสินค้า ข้อมูลสินค้า เช่น รูปภาพ จำนวน ขนาด น้ำหนักของกล่อง มูลค่าสินค้า หรืออินวอย (ถ้ามี) เพื่อใช้ประเมินค่าระวางเรือ และค่าใช้จ่ายอืนๆ ที่อยู่ส่งสินค้าปลายทางในต่างประเทศ หรือเมืองท่าปลายทาง เพื่อใช้ประเมินค่าระวางเรือ

 

บริการนำเข้าสินค้าทั้งแบบเหมาตู้ และไม่เต็มตู้ (FCL & LCL), บริการด้านพิธีศุลกากร (ทางเรือ ทางอากาศ และทางรถข้ามแดน)

กรณีต้องการขนส่งจากต้นทาง(โรงงานผู้ผลิต) แจ้งข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

แจ้งข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้ในการคำนวนค่าขนส่ง ได้แก่

  1. ราคาสินค้าข้อมูลสินค้าทั้งหมด (Invoice & Packing list)
  2. ปริมาณสินค้า กี่ CBM หรือเต็มตู้กี่ฟุต (20′ 40′) ตู้แห้ง หรือตู้เย็นกรณีเป็นของสด
  3. ที่อยู่ต้นทางในประเทศหรือต่างประเทศ และที่อยู่ปลายทางในประเทศหรือต่างประเทศ
  4. ลูกค้ามี NSW ลงทะเบียนกับกรมศุลกากรแล้วหรือไม่
  5. ทางลูกค้าจะต้องเตรียมข้อมูลเหล่านี้ไว้ เพื่อความรวดเร็วในการเสนอราคา ทางเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลมาเพื่อคำนวณค่าใช้จ่าย ที่สมเหตุสมผลที่สุดและเสนอกลับให้ลูกค้าในเวลาที่เร็วที่สุด

 

หากลูกค้าพึงพอใจในราคา และตัดสินใจที่จะใช้บริการกับเรา “#การนำเข้าสินค้า” ทางเจ้าหน้าที่จะขอเอกสารสำคัญ ได้แก่ Packing List, Invoice และ ใบ NSW ผู้นำเข้า หากลูกค้าไม่มี โปรดแจ้งด่วน เพื่อดำเนินการจดทะเบียนต่อไป (แนะนำให้แจ้งล่วงหน้า) หรือต้องการใช้เอกสาร Im/Ex license ของเราก็แจ้งได้ครับ

 

ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจองระวางเรือหรือจองไฟล์แอร์คาร์โก้ ดำเนินการทางด้านเอกสารและเดินพิธีการทางด้านศุลกากรทั้งต้นทางและปลายทาง และคำนวนเกี่ยวกับค่าภาษีขาเข้า ที่ลูกค้าต้องชำระในรูปแบบต่างๆ ที่ทางกรมศุลกากร ได้ระบุไว้เบื้องต้นและตรวจสอบใบอนุญาตในการขออนุญาตนำเข้าจากกรมต่างๆ

ดำเนินการออกของแล้วเสร็จ และจัดส่งไปยัง ปลายทาง ที่ลูกค้าต้องการ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และจัดส่งเอกสารต่างๆ ตามไปด้วย